ครช.
"เปิดคำวินิจฉัยฉบับประชาชน เหตุผลที่ประยุทธ์ไม่ควรอยู่ต่อ"
ชี้ทางออกจากวังวน ไม่ใช่การตีความ แต่ต้องเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับประชาชน
วางดอกไม้จันทน์สาปส่งนายกเถื่อน เผารูปคู่ "ตู่-ป้อม" เชิงสัญลักษณ์
วันนี้
(24 ส.ค. 65) เวลา 16.00 น
ที่ศาลฎีกา ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ (ลานอากง)
คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนหรือ ครช. จัดกิจกรรม "เปิดคำวินิจฉัยฉบับประชาชน
เหตุผลที่ประยุทธ์ไม่ควรอยู่อีกต่อไป" โดยมี น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร
ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ, รศ.อนุสรณ์ อุณโณ
อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, น.ส.ธนพร
วิจันทร์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ,นายธีรัตม์ พณิชอุดมพัชร์
ผู้ประสานงาน ครช. เป็นผู้ร่วมให้ความเห็น และมีนายธัชพงศ์ แกดํา หรือบอย
เป็นผู้ดำเนินรายการ รวมทั้ง ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์
ม.เกษตรศาสตร์, นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข
ร่วมในบรรยากาศการอ่านคำวินิจฉัยฉบับประชาชนด้วย
ต่อมาเวลา
16.10 น. ตัวแทนจาก ครช. ได้อ่านคำวินิจฉัยกรณีการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565
โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ตั้งแต่วันที่
22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
เข้ายึดอำนาจการปกครองประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
และได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติให้ พลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยมติเอกฉันท์ มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่
24 สิงหาคม 2557 หลังจากนั้นให้มีการจัดทำและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560
แล้วจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกเท่าผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในปี 2562
ซึ่งหลังการเลือกตั้งนั้นที่ประชุมรัฐสภามีมติเสียงข้างมากเลือก
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในครั้งนี้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่
9 มิถุนายน 2562 และยังคงดำรงตำแหน่งมาถึงปัจจุบัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560
มาตรา 158 วรรคท้าย
กำหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งไม่ว่าจะต่อเนื่องหรือไม่ก็ตามเกินกว่า 8
ปีไม่ได้ ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อขึ้นเพื่อคุ้มครองไม่ให้นายกรัฐมนตรีคนหนึ่งดำรงตำแหน่งยาวนานเกินไปจนเกิดการผูกขาดตำแหน่ง
อันนำไปสู่การผูกขาดอำนาจของฝ่ายบริหาร ในขณะที่มาตรา 170 วรรคสองก็รับรองว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีย่อมสิ้นไป
หากได้ดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลา 8 ปีดังกล่าวนั้นและบทเฉพาะกาลมาตรา
264 วรรคแรก
ก็กำหนดว่าให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560 เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ด้วย
อันการเน้นไปที่การรักษาความต่อเนื่องของฝ่ายบริหารที่ใช้อำนาจบริหารให้ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้แม้รัฐธรรมนูญฉบับก่อนจะสิ้นผลลงไป
เมื่อมาตรา
264 วรรคแรก ได้รับรองสถานะของคณะรัฐมนตรีก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ก็ต้องเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560 ด้วย
แม้จะเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังไปก่อนที่จะใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
แต่ก็มีการรับรองโดยบทเฉพาะกาลแล้ว
ทั้งยังต้องการใช้กฎหมายย้อนหลังไม่ใช่การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง อันเป็นผลร้ายต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
แต่มุ่งไปที่การควบคุมจํากัดอำนาจเป็นสำคัญ
ประกอบกับการตีความกฎหมายนั้นก็ควรคำนึงถึงบริบท
ถ้อยคำและเจตนารมณ์ของบทบัญญัติต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญพร้อมกับการคำนึงถึงข้อเท็จจริง
ที่ปรากฏอย่างชัดเจนไปควบคู่ด้วย
เมื่อจนถึงปัจจุบันนี้ก็มี
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพียงคนเดียวดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่อง
การนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 อันเป็นวันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560 หรือตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน
2562 ซึ่งเป็นวันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากการเลือกตั้งทั่วไป
อาจทำให้มีผลสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ต่อเนื่องยาวนานกว่าที่กฎหมายกำหนด
อันนำมาสู่การผูกขาดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งกระทบต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย
และทั้งยังละเลยถึงสถานะของคณะรัฐมนตรีที่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้รับรองให้ยังคงความต่อเนื่องในบทเฉพาะกาล
ดังนั้นการนับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาต้ องนับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ถึงวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2565 จึงทำให้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกันเกินกว่า 8 ปีแล้ว
และความเป็นนายกรัฐมนตรีจึงต้องสิ้นสุดลงไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 156 วรรคท้าย
ปัญหาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตลอดระยะเวลากว่า 8 ปีที่ผ่านมานี้
เกิดภายใต้ผลพวงของรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มีที่มาจากประชาชน ไม่ใช่ของประชาชน
และไม่ได้รัฐธรรมนูญเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
ไม่ได้ทำให้ปวงชนชาวไทยเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง
ทางออกของวิกฤตปัญหาในเรื่องนี้
ไม่ใช่เพียงคำตัดสินหรือการตีความกฎหมายตามหลักการเท่านั้น
แต่จะต้องมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ประชาชนคนไทยต้องร่วมกันก่อสร้างรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นกติกาของประชาชนอย่างแท้จริง
มิใช่บทกฎหมายที่มาจากผู้มีอำนาจผู้หวังจะควบคุม ครอบงำ
ครอบครองอำนาจสูงสุดของประชาชน
คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน(ครช.)
24
สิงหาคม พ.ศ.2565
จากนั้นเวลา
17.05 น. ได้มีการจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์โดยการเผารูป พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ทั้งรูปเดี่ยวและรูปคู่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้วย
โดยประชาชนได้ร่วมวางดอกไม้จันทน์ซึ่งระบุว่าไม่ได้ไว้อาลัยแค่เป็นการสาปส่ง
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #นายก8ปี #นายกเถื่อน