วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565

"เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น" จัดเสวนา "SEA กับการกำหนดอนาคตจะนะ" ชี้รัฐเพิกเฉย SEA มานานกว่าครึ่งปี ระบุแนวโน้มทั่วโลกไม่มีใครมาจับชาวบ้าน เพราะต้องการการพัฒนาที่ยั่งยืน

 


"เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น" จัดเสวนา "SEA กับการกำหนดอนาคตจะนะ" ชี้รัฐเพิกเฉย SEA มานานกว่าครึ่งปี ระบุแนวโน้มทั่วโลกไม่มีใครมาจับชาวบ้าน เพราะต้องการการพัฒนาที่ยั่งยืน


วันนี้ (3 มิ.ย. 65) ที่ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แยกปทุมวัน เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น พร้อมแนวร่วม จัดกิจกรรม "อะโบ๊ยหมะ ครั้งที่ 7 เลจะนะบุกกรุง" โดยเวลา 18.30 มีการจัดเสวนาหัวข้อ "SEA กับการกำหนดอนาคตจะนะ" ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ในพื้นที่โครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมต้นแบบ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยร่วมถกร่วมพูดคุยกับ ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), อมรินทร์ สายจันทร์ จาก มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW), นูรี โต๊ะกาหวี ตัวแทนจากจะนะ, ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ จากกรีนพีซ ประเทศไทย ดำเนินรายการโดย ฐปณีย์ เอียดศรีไชย


ด้านดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู กล่าวว่า SEA คือกระบวนการมีส่วนร่วมและวิเคราะห์เวลาจะทำแผนนโยบายในทุกมิติทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การมาเรียกร้องทำไมถึงจับกุมชาวบ้านเพราะดูแนวโน้มจากประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ทำกัน


ต่างประเทศเริ่มจาก EIA สำรวจผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมอย่างไร ตลอด 50-60 ปี ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดจุดอ่อน ทำไมถึงไม่ศึกษาสถานที่ก่อน ทั้งความเสี่ยงสถานที่ 


ต่อมา 20 ปี พูดถึง SEA ถามว่าชาวบ้านต้องการอะไร ดึงศักยภาพของชาวบ้านออกมา ซึ่งประเทศแรกที่ทำคือสหรัฐอเมริกา เพราะประเทศเหล่านี้รู้ว่าถ้าไม่ทำจะเกิดผลอย่างไร ตัวอย่างเช่น ปากีสถาน ที่มีการสร้างโรงงานแบบไม่ควบคุม เวลาผ่านมาเกิดมลภาวะ ชาวบ้านเดือดร้อน ย้ายโรงไฟฟ้าด้วย เกิดเป็นเสียงเรียกร้องถึงฝั่งนักวิชาการว่าภาคนโยบายจะต้องคิดด้วย


ภาครัฐและประชาชนร่วมมือกัน แนวโน้มทั่วโลกเป็นแบบนี้ไม่มีใครมาจับชาวบ้านแบบนี้ เพราะต้องการการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ให้ไม่เกิดผลกระทบถึงคนรุ่นหลัง การทำ SEA ดีด้วยซ้ำทั้งคนเห็นด้วยและเห็นต่าง ในหลายพื้นที่แก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ แม้แต่แผนของสภาพัฒน์เองก็พูดเรื่องนี้ นายกฯ ก็เคยพูดว่าจะใช้เพื่อลดความขัดแย้งกับชาวบ้าน แต่ตอนนี้มันตรงกันข้าม


คนกทม.จำนวนมาก มีความดีใจได้ชัชชาติเป็นผู้ว่า ชาวบ้านจะนะก็เช่นเดียวกัน ว่าอยากให้มีแบบนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วที่ชาวบ้านเรียกร้อง


กฎหมายอาจจะไม่มี แต่ EIA เกิดก่อน และต้องปรับให้ทันตามยุคสมัย บางเรื่องไม่มีกฎหมายก็ยังทำ ระยะเวลา 6 เดือนในการตั้งคณะกรรมการนานเกินไปเพราะปล่อยไปเสียโอกาสในการพัฒนาศักยภาพพื้นที่จะนะ เสียเวลา ทุกวันเวลามีค่า ถ้าเห็นค่าจะไม่ปล่อยเวลาแบบนี้ ถ้าเห็นความสำคัญของชาวบ้านจะยิ่งเฉยไม่ได้หรอก อยากให้คนมีความรู้และความเข้าใจกับ SEA มากขึ้นเพราะอยู่บนความรู้ ความคิด เป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว


นายอมรินทร์ สายจันทร์ ระบุว่า ยังเป็นช่วงของการตกลงกันว่าคณะกรรมการที่มาศึกษามีใครบ้างทั้งจากภาคเอกชน ภาครัฐชาวบ้านมีใครบ้าง ยังต้องติดตามอยู่ รวมไปถึงคดีที่โดนอยู่ด้วย


ภาครัฐมีข้ออ้างอยู่แม้จะมีมติออกมาแล้ว อ้างว่ายังไม่มีกฎหมาย ระเบียบที่ชัดเจน โดนคดีเพราะมาเรียกร้องในสิ่งที่ควรทำ โดนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน กีดขวางทางสาธารณะ กำหนดนัดเดือนกันยา 


มีการยกร่างออกมาแล้วเป็นร่างนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ติดอยู่นานแล้วไม่ออกมาสักที เป็นหนึ่งในความไม่จริงใจว่าอยากให้ทำจริงหรือไม่


ส่อถึงความไม่จริงใจ หากยังเดินหน้าอยู่ก็จะผิดมติครม.ที่ออกมา 


ขณะที่ นางสาวณิชนันท์ จากกรีนพีซ แนะนำโครงการของกรีนพีซที่ทำร่วมกับชุมชนในอำเภอจะนะว่า มีการทำ Mini SEA ที่ทำเหมือน SEA แต่เป็นระดับเล็กกว่าซึ่งประกอบด้วยชาวบ้านในพื้นที่ และนักวิชาการ โดยพิจารณามูลค่าของอาชีพท้องถิ่น มูลค่าในเชิงสังคม ตลอดจนผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมผ่านต้นแบบทางวิศวกรรม 


ปัจจุบันนี้เก็บข้อมูลเสร็จแล้ว เหลือจำลองต้นแบบ ซึ่งจะนำข้อมูลนี้ไปคุยกับพื้นที่ว่าคนที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานทรัพยากรธรรมชาติว่าสิ่งเหล่านี้มีมูลค่าเพียงใด และจะกระทบอย่างไรหากเกิดโครงการพัฒนาต้นแบบอุตสาหกรรมขึ้นมา นางสาวณิชนันท์ กล่าว


ทั้งได้กล่าวถึงประโยชน์จากการทำ Mini SEA ว่าจะช่วยลดระยะเวลาศึกษา SEA ฉบับจริงที่ภาครัฐจะเริ่มหลังจากนี้ โดยการนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา Mini SEA ของเราไปให้กับภาครัฐต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับชาวบ้านและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต่อไป


ด้าน นูรี โต๊ะกาหวี ระบุว่า หนึ่งในผู้ต้องคดีที่รัฐยัดเยียดให้ที่ออกมาปกป้องบ้านเกิด หลังจากที่รัฐให้ตั้งคณะกรรมการศึกษา SEA แต่ทางรัฐไม่มีหน่วยงานเข้ามาศึกษาติดต่อพูดคุยอะไรเลย เราคอยอยู่ว่าเมื่อไหร่จะมาตั้งคณะกรรมการร่วมกับชาวจะนะสักที เพราะเราดำเนินการจะเสร็จแล้ว รอหน่วยงานรัฐมารับผิดชอบเรื่องนี้อยู่ คุยซูมครั้งเดียว ไม่ได้คืบหน้าอะไรเลย เมื่อเทียบกับชาวบ้านที่ตั้งใจศึกษาเพื่อให้หน่วยงานรัฐรับรู้ ชาวบ้านเสนอทีมไปแล้วว่าให้ใครมาช่วยมีส่วนไหนบ้าง ชาวบ้านทำ SEA ในส่วนของชาวบ้านจะเสร็จแล้ว


กรีนพีซเข้าไปทำให้เราได้รู้ว่าทรัพยากรที่เรามี มีค่ามากแค่ไหน นอกจากมูลค่าทางด้านจิตใจ เราไม่เคยมานั่งประมูลมูลค่าว่าเราสามารถสร้างเงินได้เท่าไหร่ต่อปี นอกจากงานที่ทำอยู่ พอมีกรีนพีซเข้ามาเห็นถึงมูลค่าของมันนอกจากการเลี้ยงชีพแล้ว สามารถบอกต่อไปให้คนอื่นรู้ว่าทรัพยากรเรามีค่า เห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่


ชาวบ้านคิดว่าถ้ารัฐลงมือทำไม่ใช้เวลามากมายอะไร ไม่ได้เร่งรัดให้ทำจนเกิดข้อบกพร่อง เราเลยปูพื้นฐานไว้ให้รัฐดีกว่า เลยช่วยหาข้อมูลไว้ ว่าที่ที่เราอยู่อุดมสมบูรณ์อย่างไร ให้แต่คุณทำด้วยความจริงใจและมองประชาชนว่าที่ออกมาเรียกร้องเพราะอยากได้รับความเป็นธรรม และอยู่บนฐานทรัพยากรที่ดูแลมาตั้งแต่ก่อน แต่ถ้านำสิ่งไม่ดีเข้ามาเราพร้อมต่อสู้ทุกวิถีทาง และการรวบรวมข้อมูลก็เป็นการต่อสู้อย่างหนึ่ง ขอให้รัฐมีความจริงใจ เราสามรถสร้างมูลค่าให้ทรัพยากรที่มีอยู่และมากกว่าสิ่งที่อุตสาหกรรมทำได้ด้วยซ้ำ


มีการจัดเวทีโดยหน่วยงานรัฐ คิดลักไก่ที่จะทำ ไม่เห็นหัวประชาชนและเข้าข้างฝ่ายนิคมอุตสาหกรรม ฝ่ายนายทุน ทุกคนที่ขึ้นมาต้องทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว ยังคิดจะทำลายบ้านเขาอีก คุณคิดผิดที่ทำแบบนั้น นางนูรี กล่าวทิ้งท้าย


#อะโบ๊ยหมะเลจะนะบุกกรุง #จะนะรักษ์ถิ่น #SaveChana #UDDnews #ยูดีดีนิวส์