ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีทั้งหลุมพราง, กับระเบิด และบ่วงดัก!
วานนี้
(14 มิ.ย. 64) อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้กลับมาพบกับทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง ผ่านการทำเฟซบุ๊กไลฟ์
ในท่ามกลางเรื่องร้อน ๆ เกี่ยวกับโควิด เทปนี้เป็นการสนทนาเรื่องการเมือง โดยอ.ธิดากล่าวว่า
โควิดก็เป็นปัญหาสำคัญ เป็นวิกฤตประเทศ
แต่วิกฤตที่ยาวนานเรื้อรังและยังไม่มีท่าทีที่จะดีขึ้นเลยคือวิกฤตการเมืองในประเทศไทย
ซึ่งประเด็นที่จะสนทนาก็คือ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
มีทั้งหลุมพราง, กับระเบิด และบ่วงดัก!
อ.ธิดากล่าวว่า
ในฐานะของประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ให้มีระบอบการเมืองการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
และแน่นอน ตามธรรมเนียมของเราแต่โบราณ เรามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็ยังมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ได้
แต่โดยวิถีทางที่เป็นระบอบประชาธิปไตยที่เป็นสากลจริง ๆ
ถ้าใครก็ตาม
หรือประชาชน หรือคณะใดก็ตาม
ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง เราก็จะพบปัญหา
โดยเฉพาะในช่วง 2 ทศวรรษหลังอยู่ตลอดเลยก็คือปัญหาการทำรัฐประหาร ปัญหาความพยายามจะสืบทอดอำนาจ
และปัญหาการเขียนรัฐธรรมนูญ
นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง
24 มิถุนายน 2475 เรามีธรรมนูญการปกครองและในหลวงรัชกาลที่ 7 ก็ต่อว่าชั่วคราว
แล้วก็มามีรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 ที่ถือว่าเป็นฉบับจริงอีกฉบับหนึ่ง
ซึ่งก็ใช้อยู่ยาวนานพอสมควร
นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง
เราจะเจอ 2 ปัญหานี้ คือ การทำรัฐประหาร การฉีกรัฐธรรมนูญ การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่
และความพยายามจะสืบทอดอำนาจต่าง ๆ นานา ซึ่งอันที่จริงถ้าพูดให้ตรงไปตรงมาก็คือเป็นสงครามระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่
การเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบใหม่คือเป็นระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนนั้นยังไม่สามารถบรรลุได้
เพราะระบอบเก่ายังต้องการยึดอำนาจเอาไว้อยู่ และคำว่าระบอบเก่าไม่ได้หมายถึงบุคคล
แต่มันหมายถึงคณะ กลุ่มคน และความคิดในเชิงอนุรักษ์นิยม
ซึ่งโครงสร้างของชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม จารีตนิยม ก็ต้องพ่วงอำนาจนิยม
เพราะเป็นเครื่องมือ และก็ต้องพ่วงกลุ่มเนติบริกร ดังนั้น “ทหารและเนติบริกร” จึงกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายจารีตนิยม
และก็เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอย่างยิ่ง
และดังที่ดิฉันได้เคยพูดเอาไว้แล้วว่า
ในทัศนะของดิฉัน (อาจจะมีคนไม่เห็นด้วยก็ได้)
ว่าจุดอ่อนของคณะราษฎรตั้งแต่ต้นก็คือการไม่ได้ปฏิรูปโครงสร้างกองทัพให้เป็นกองทัพของประชาชนตั้งแต่ต้น
และปัญหาโครงสร้างของระบบยุติธรรมในประเทศไทย เราพยายามทำให้มีกฎหมายทันสมัย
เราใช้นักกฎหมายซึ่งเรียนมาจากหลายสำนัก
เพื่อที่จะไปเน้นตรงข้อเสียเปรียบกับประเทศที่เขามาล่าอาณานิคม แต่ทั้งสองประการก็คือเนติบริกรหรือผู้คนในกระบวนการยุติธรรมนั้นยังไม่ได้เป็นกระบวนการยุติธรรมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยจริง
ยังขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐ ถ้าอำนาจรัฐเป็นของฝ่ายจารีต
กองทัพและกระบวนการยุติธรรมก็ขึ้นอยู่กับจารีต
แต่ถ้าอำนาจรัฐบางครั้งมีโอกาสที่ประชาชนมีอำนาจอยู่จำนวนหนึ่ง อาจจะ 70%
มาจากการเลือกตั้ง ก็อาจจะมาขึ้นกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด
เพราะฉะนั้น
กระบวนการของกองทัพ ปัญหาของกองทัพกับตุลาการและกระบวนการยุติธรรม
รวมทั้งข้าราชการทหารพลเรือนทั้งหมดทุกฝ่ายจึงไม่ได้ขึ้นกับอำนาจประชาชนแต่ไหนแต่ไรมาจนถึงบัดนี้
เวลาเราเรียกร้องกองทัพ เราเรียกร้องกระบวนการยุติธรรมว่าจะต้องให้ความยุติธรรม
ต้องเห็นแก่ประชาชน อะไรก็ตาม มันจึงล้มเหลวมาโดยตลอด
เพราะพัฒนาการของกองทัพกับกระบวนการยุติธรรมยังไม่ใช่ได้รับการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลง
ไม่เหมือนกับส่วนอื่น ในประเทศไทยก็มีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากกองทัพกับตุลาการและระบบยุติธรรมในประเทศไทยนั้นมีพลานุภาพในการที่จะจัดการ
ควบคุม จับกุมคุมขัง จัดการกับประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับอำนาจรัฐจารีต
เพราะฉะนั้นอาวุธสองอย่างนี้จึงยังเป็นปัญหาประเทศไทย!
ดังนั้น
สิ่งที่เกิดขึ้นคือยังต้องมีเนติบริกรมาเขียนรัฐธรรมนูญให้กับฝ่ายที่ชนะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่ทำรัฐประหาร เราจึงมีรัฐธรรมนูญซึ่งแย่มากตั้งแต่ 2490
เป็นต้นมาจนถึงบัดนี้ และรัฐธรรมนูญ 2560 นี้พูดง่าย ๆ ว่ามันก็ล้าหลังกว่า 2550
ล้าหลังกว่า 2540 แน่นอน และล้าหลังมากอย่างชนิดที่เรียกว่าอาจจะครองแชมป์เลยก็ได้
เพราะยังมีมีรัฐธรรมนูญฉบับไหนที่กล้าเขียนถึงขนาดนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ให้วุฒิสมาชิกสามารถโหวตนายกรัฐมนตรีได้ พูดตรง ๆ
ว่ามันต้องเป็นประดิษฐกรรมที่เหลือเชื่อของฝ่ายจารีตนิยมสุดโต่ง
และมาบัดนี้เราก็มาเผชิญปัญหาขณะนี้ว่า
รัฐธรรมนูญ 2560 ก็ถูกเสนออีกโดยฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศให้อำนาจเป็นของราษฎร
ก็ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ!
เมื่อตอนทำรัฐประหาร
2549 เราก็ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ 2550 แล้วก็ไม่ได้ผลเป็นลำดับ ความพยายามจะแก้รัฐธรรมนูญของพรรคการเมืองในขณะนั้นในชื่อพรรคพลังประชาชน
ก็ปรากฎว่าฉบับที่เสนอโดยประชาชน เราไปรณรงค์นะ เรารณรงค์และล่าชื่อกันมา
แต่ว่าโดยความร่วมมือของพรรคการเมือง (พลังประชาชน) ขณะนั้นด้วย ก็ปรากฏว่าอยู่ในสภาเป็นลำดับที่
1 ไม่เคยถูกนำมาพิจารณา
แล้วพอมารัฐธรรมนูญในปี
2550 รอบหลัง ในสมัยพรรคเพื่อไทย ก็มีความพยายามที่จะแก้
เพราะฉะนั้นฉบับของนปช.กับฉบับของพรรคเพื่อไทยก็คนละอย่างกัน
แต่ดิฉันอยากจะพูดว่าฉบับของนปช.ซึ่งดิฉันเป็นประธานอยู่ตอนนั้น
มันก็เหมือนฉบับที่ iLaw, ฉบับที่ฝ่ายประชาชนเสนอ และมันก็เหมือนกับที่ฝ่ายค้านปัจจุบันนี้เสนอ
ก็คือให้มีสภาร่างฯ แล้วสภาร่างฯนั้นมีอำนาจเต็มที่ในการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ จริง ๆ
ก็คือทั้งฉบับ หรือจะพูดว่าเว้น 2 มาตราแรก คือให้อำนาจไปอยู่ที่สภาร่างฯ ไม่ใช่อำนาจอยู่ที่พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล
แต่ว่าของเพื่อไทยตอนนั้นก็แก้อาจจะหลายอย่างตรงกัน แต่ที่สำคัญก็คือของเพื่อไทยยังมีคณะกรรมการร่างฯ ซึ่งมาจากรัฐบาลและรัฐสภา
ซึ่งแน่นอนเพื่อไทยก็มีเป็นจำนวนมาก ก็ได้เปรียบ
แต่ในทัศนะของดิฉันซึ่งอ่านการเมืองอยู่แล้วว่า
มันเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งก็มีเสียงอยู่พอสมควรที่เขาจะยอม
ดังนั้น เพื่อที่จะให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญง่าย ก็โยนไปที่สภาร่างฯ ใหม่เลย
ให้มาจัดการเลือกตั้งใหม่ 100% ในขณะนั้นประชาธิปัตย์ต้องการ 200 เสียง
แต่ของเราเสนอ 100 เสียงที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งที่จริงจำนวนคนไม่ได้มีปัญหา
แต่ว่าพรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วย ของเราก็ถูกตีตกไป ซึ่งดิฉันก็พูดเสมอว่า ถ้าวันนั้นคิดแบบวันนี้ ไม่ต้องคิดเหมือน นปช.ก็ได้ ไม่ต้องไปอ้างถึง
คิดแบบวันนี้ก็คือโยนให้สภาร่างที่มีการเลือกตั้งใหม่ 100% เป็นผู้ร่างฯ มันอาจจะได้รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ตรงใจ 100% แต่ว่ามันก็ต้องดีกว่าชุดเดิม
ดังนั้น
เพื่อไทยในยุคนั้นก็คิดเหมือนรัฐบาลยุคนี้
ก็คือเสนอให้มีคณะร่างซึ่งจะมีการเลือกเข้าไป แต่สุดท้ายเมื่อตกลงกันได้
ในที่สุดก็เจอกลโกง ต้องใช้คำว่า “บ่วงดัก” ก็ได้ ไปไม่ถึงฝั่ง ก็มีการแก้กลทั้ง ๆ
ที่ผ่านวาระแรกมาแล้ว
ตกลงกันแล้วว่าจะยอมรับให้มีสภาร่างฯ ซึ่งผ่านจากการเลือกตั้งทั้งหมด 100% เจอบ่วงดัก
แล้วก็เจอหลุม สุดท้ายก็ไปไม่ได้ ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญมาบอกให้มีการทำ “ประชามติ”
มา
ณ บัดนี้ ก็น่าคิดว่ากระแสในการที่ว่าอาจจะมีการยุบสภา หรือมีคนมองไปถึงว่านายกฯ
จะถอดใจหรือเปล่า ดิฉันก็ยังคิดว่ามันยังเป็นไปไม่ได้ในช่วงนี้ ไม่ว่าจะยุบสภา
หรือนายกฯ ถอดใจลาออก ดูแล้วมันไม่น่าจะเป็นอย่างนั้นเลย ถ้าจะดูว่าใครพูดยังไง
คนที่พูดแล้วน่าเชื่อถือว่าเขาจะทำอย่างนั้นก็คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
เขาบอกว่าเขาจะอยู่จนครบ
แต่ในขณะเดียวกันตอนนี้ก็มีกระแสของการที่ว่าจะมีการยุบ
จะมีการเลือกตั้ง ดังนั้นก็เลยสร้างกระแสของการที่ว่า ไม่ต้องไปรอแก้ทั้งฉบับหรอก
แก้แต่เฉพาะบัตรเลือกตั้งใบเดียว บัตรสองใบ แก้แต่เฉพาะว่าไม่ต้องมีไพรมารี่โหวต
ไม่ต้องให้มีคนเป็น 120 คนทุกเขต อะไรต่าง ๆ เหล่านี้
คือแก้ให้สามารถที่จะดำเนินงานของพรรคการเมืองง่ายกว่าเดิม แล้วก็มีบัตรสองใบ
แล้วทำไมต้องมีบัตรสองใบ
ก็เพราะพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ใหญ่แล้ว สามารถที่จะหาคนมาลงเขตได้เยอะ
ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้บัตรใบเดียวแบบที่เนติบริกรได้เตรียมเอาไว้ในตอนนั้น
เพราะมาถึงนาทีนี้พปชร.กลายเป็นพรรคใหญ่โต คู่แข่งของพปชร. ก็คือพรรคเพื่อไทย
ประชาธิปัตย์ก็อยากได้บัตรสองใบ ภูมิใจไทยก็รู้สึกไม่อยากได้
พรรคชาติไทยพัฒนาก็เป็นพรรคเล็ก
พรรคเล็กส่วนใหญ่ก็ไม่ได้สนใจที่จะถือเป็นเรื่องสำคัญ ดิฉันมองในแง่ดีว่า กติกามาอย่างไรเขาก็สู้
เขาไม่ได้ถือเป็นเรื่องสำคัญว่าบัตรใบเดียวหรือสองใบ
แต่พรรคใหญ่นั้นเอาเรื่องบัตรสองใบเป็นเรื่องสำคัญ
พรรคฝั่งรัฐบาลอยากได้ เช่น ประชาธิปัตย์, พปชร.
ในฝั่งฝ่ายค้านก็จะมีแต่พรรคเพื่อไทยที่อยากได้ พรรคอื่น ๆ คงเฉย ๆ
ในทัศนะของดิฉัน ในพรรคฝ่ายค้านมุ่งที่จะแก้เรื่องของพรบ.ประชามติ
เพราะศาลรัฐธรรมนูญเตะมาแล้ว และต้องการจะแก้ทั้งฉบับให้เร็วมากกว่า
แต่พอมีกระแสข่าวว่าอาจจะเลิกนะ อาจจะมีการยุบนะ อาจจะมีการเลือกตั้งใหม่นะ
ก็อาจจะทำให้คนอยากแก้บัตรสองใบ หรือกระบวนการได้มาของผู้สมัครให้ง่ายกว่าเดิม
ดังนี้เป็นต้น
อย่างนี้พูดตรง
ๆ ก็คือเข้าทางของพปชร. คือก็แก้แล้วนี่ หรือผู้สืบทอดอำนาจ ก็แก้แล้ว
แต่ที่จะไม่ให้แก้เลยหรือแก้ไม่ได้เลยก็คืออำนาจวุฒิสมาชิก
อำนาจวุฒิสมาชิกซึ่งเขาอยู่
5 ปี พล.อ.ประวิตร บอก 4 ปี อยู่เต็ม ไม่มีถอดใจหรอก!
ก็แปลว่ายังสามารถโหวตให้พล.อ.ประยุทธ์มาอีกครั้ง
ดิฉันก็คิดว่ายังดูไม่รู้ว่าจะเป็นคนอื่น ก็ยังอาจจะเป็น 3ป. กลับมาเหมือนเดิม
จะหาใครเป็นหัวหน้าพรรคพปชร.ที่ดีเท่า พล.อ.ประวิตร ล่ะ จะหาใครเป็นนายกฯ ที่เก่งกาจ สามารถสร้างสีสันและทนได้เท่ากับ พล.อ.ประยุทธ์ ถูกโจมตียังไง อาจจะมีการโวยวาย แต่สุดท้ายก็ไม่เห็นมีปัญหา ก็ทนได้ทั้งนั้น และคนดูแลควบคุมจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร คือ มหาดไทย เพราะฉะนั้นทั้ง 3ป. ก็ยังอยู่ยงคงกระพัน
ส่วนพรรคการเมืองอื่น
ๆ พรรคพปชร.เขามีแต่จะหวังเติบโต ให้จับตาดูว่าฤทธิ์เดชของคุณธรรมนัส
รวมทั้งกลุ่มสามมิตร จะไปกวาดส.ส.ภาคอีสานมาได้มากขึ้นเท่าไหร่
เพราะได้จัดการภาคใต้และกรุงเทพฯ ในส่วนของประชาธิปัตย์
ถ้าจัดการพรรคใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทย ก็ต้องมากวาดส.ส.อีสานกับภาคเหนือ
อย่างนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้น
ที่มีการประชุมใหญ่ก็ตามดูประหนึ่งเป็นการเตรียมการว่าจะให้มีการเลือกตั้งเร็วหรือเปล่า?
แต่ในความเชื่อของดิฉันคิดว่าปัญหาของรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ
กว่าจะได้มาถึงรัฐธรรมนูญ 2560 นั้นลำบากมากเลย
กว่าจะทำประชามติแบบที่ไม่มีในโลกที่เขาทำแบบนี้ แล้วเขียนรัฐธรรมนูญที่เลวที่สุด
ดิฉันกำลังจะคิดว่ามันน่าจะเลวกว่า 2490 หรือ 2492 ด้วยซ้ำ คือยังไงเขาก็ไม่ “หน้าด้าน”
ขนาดนี้ (ขออภัย อาจจะพูดหยาบคายไปหน่อย) หน้าด้านที่จะยอมให้คนด่าว่าโกงอำนาจประชาชน
แต่งตั้งมาแล้วก็มาเลือกนายกฯ เขาก็ทนได้ การที่จะให้มาแก้รัฐธรรมนูญ 2560 ง่าย ๆ
นี้ดิฉันยังไม่เชื่อ!
เขาส่งคนแบบ "ไพบูลย์ นิติตะวัน" ซึ่งเป็นพวกสุดโต่งเลยเข้ามาคุมเกมหมด คุมเกมตั้งแต่รอบที่แล้วคือตีตกที่จะให้มีการแก้รัฐธรรมนูญโดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง
เกมนั้นก็ทำสำเร็จ แล้วก็เปลี่ยนมาแก้เป็นรายมาตรา แก้เป็นบางมาตรา
พร้อมกันนั้นก็สร้างกระแสว่าอาจจะมีการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้น
ยังไม่ได้แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
อย่างน้อยก็แก้ระบบการเลือกตั้งเสียก่อนเพื่อให้เลือกเข้าสู่สนามได้ง่ายหน่อย
ก็อาจจะเป็น ลับ ลวง พราง วิธีการ
คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เราพาดหัวเอาไว้ว่า
มันมีทั้งหลุมพราง กับระเบิด และบ่วงดัก คือคุณตกหลุมเขาได้ง่ายมากเลย เขาให้เดินมารอบที่แล้ว เดินมาจนกระทั่งให้มีสภาร่างฯ
รู้สึกโลกสดใสเลยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็สามารถเบี่ยงเบนประเด็น ถูกตีตก
เล่นเกมในสภา แล้วก็โยนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็โยนมาวาให้ทำประชามติ
ซึ่งประชามตินี้จะเป็นทั้งหลุมพรางและกับระเบิดใหม่ที่สำคัญ
เพราะที่แล้วมารัฐให้ทำประชามติ
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้รับชัยชนะในการทำประชามติทุกครั้ง
เมื่อปี
50 เสียงค้าน 10 ล้าน ของรัฐธรรมนูญ 60 เสียงค้านก็ 10 ล้าน ก็ประมาณเดิมเหมือนกัน
เวลาผ่านมาตั้งหลายปี แต่ว่าที่ให้ทำประชามติตอนปี 60 มีกลโกงสารพัด
เขาได้เรียนรู้จากการทำรัฐประหาร 2549 แล้วพัฒนามาเป็นลำดับว่าจะทำอย่างไร
เพราะโจทย์แรกเลยเขาตั้งเอาไว้แล้วว่าจะอยู่ในอำนาจ 5 ปี โดยไม่มีการเลือกตั้ง
เป็นตามนั้นจริง ๆ 5 ปี ไม่มีการเลือกตั้ง
และเมื่อมีการเลือกตั้ง
ทำอย่างไรให้สืบทอดอำนาจ 20 ปี เมื่อสมัย 2519 รัฐบาลหอย บอกว่า 12 ปี คนโวยวาย
แต่ช่วงนั้นกองทัพไม่เป็นเอกภาพ มีกลุ่มยังเติร์ก คือพอหมดถนอม-ประภาสไป
ยุคหลังจากพลเอกกฤษณ์ สีวะรา มันไม่เป็นเอกภาพ
แล้วฝ่ายจารีตนิยมยังคุมกองทัพไม่ได้
ไม่เหมือนยุคปัจจุบันที่กองทัพเป็นของจารีตนิยมทั้งหมด มันไม่เหมือนกัน!
ดังนั้น
การเรียนรู้ปัญหาของรัฐธรรมนูญปี 2550 (รัฐประหาร 2549) จึงถูกออกแบบใหม่
ไม่มีการทำเลือกตั้ง 5 ปี
หลังจากนั้นเมื่อมีการเลือกตั้งแล้วเขียนรัฐธรรมนูญให้สามารถสืบทอดอำนาจโดยนายกฯ
คนเดิมไม่ต่ำกว่า 2 สมัย (8 ปี) หรือเป็นนายกฯ ในการควบคุมของฝ่ายจารีต (5+8 ก็ 13
ปีแล้ว) แล้วเขาคิดว่า 20 ปี จะสามารถเปลี่ยนกองทัพเป็นของจารีตได้ 100%
หรือกระทั่งกระบวนการยุติธรรม อำนาจองค์กรอิสระต่าง ๆ
ทั้งหมดนี้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมสามารถที่จะควบคุมทั้งความคิด ทั้งการจัดตั้ง ทั้งผลประโยชน์ได้ทั้งหมด
เล็งผลเลิศ!
อ.ธิดากล่าวว่า
การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่ยากมาก ทำท่าเหมือนจะแก้ได้
ก็ถูกจัดการได้ง่ายเลย มีผู้ฟ้องเตะเข้าศาลรัฐธรรมนูญทีเดียว เรียบร้อย
ต่อไปก็คือปัญหาประชามติ คุณจะผ่าน พ.ร.บ.ประชามติยังไง? คุณจะทำประชามติยังไง? ไป
ๆ มา ๆ เดี๋ยวก็เหลือ 10 ล้านเท่าเก่าอีกหรือเปล่า?
แต่ดิฉันคิดว่าคงจะไม่ใช่อย่างนั้น
ดังนั้น
ฝ่ายประชาชนกับพรรคการเมืองต้องเตรียมตัวให้ดี
พรรคการเมืองอาจจะมีผลประโยชน์ไม่เหมือนกัน พรรคเล็กอาจจะคิดไปอย่างหนึ่ง
พรรคใหญ่นั้น ดิฉันขอเรียกร้องพรรคใหญ่ “อย่ารีบร้อน” ที่จะเดินตามรอยของพปชร.และไพบูลย์
นิติตะวัน ยังไม่มีการลงจากอำนาจง่าย ๆ แน่นอนว่ามันยาก “มองให้ไกล ใฝ่ให้สูง”
คือทำรัฐธรรมนูญให้มาจากสภาร่างฯ ให้ดีที่สุด และจุดสำคัญก็คืออำนาจของ ส.ว.
เขาบอกว่าเขาขออีก 1 สมัย (คือเลือกนายกฯ อีกรอบหนึ่ง) ตรงจุดนี้ต้องเป็นจุดที่สำคัญมาก
นอกจากนี้
พรรคการเมืองควรจะมีวิสัยทัศน์ เพราะมิฉะนั้นคุณก็โดนเชือดอีกนั่นแหละ
แล้วคุณจะยิ่งยากขึ้นไปเรื่อย พรรคคุณก็จะยิ่งแตกไปเรื่อย ๆ อีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายประชาชน
อยากให้ปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้รับความสนใจ ขณะนี้มีการถูกจับกุมปราบปรามเหมือนกับนปช.รุ่นแรก
ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ขบวนการประชาชนปัจจุบันมีข้อดีกว่ายุคของนปช.
ได้รับการอุ้มชูของประชาชนมากขึ้น ได้รับการดูแลอุ้มชูของสังคมโลกมากขึ้น
มีความชอบธรรมมากขึ้น ที่สำคัญคือมีทั้งมวลชนพื้นฐาน มีทั้งปัญญาชน
มีทั้งนักวิชาการ และมีพรรคการเมืองหลายพรรค ถ้ามีพรรคการเมืองพรรคเดียว
ฝ่ายประชาชนลำบาก ถ้าพรรคการเมืองไม่เอาด้วย แต่ถ้ามีหลายพรรค
ก็ต้องคิดมากกันสักหน่อย
อย่างน้อยที่สุด
แม้พวกคุณอาจจะมีเป้าหมายในระดับที่แตกต่างกันบ้าง
แต่เป้าหมายสำคัญคือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
อยากจะให้เป็นเป้าหมายหลักในการที่สามารถเรียกร้องร่วมกันได้ คือบุคคล ถ้านายกฯ
ถูกเด้งออกไปมันก็ดี แล้วเขาก็มี ป. ใหม่มา อะไรทุกอย่างมันเหมือนเดิม
ประยุทธ์ออกไปคนเดียว มันก็แก้ปัญหาไม่ได้
แต่ถ้าหากว่าพูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
มันมีทุกบริบท มันมีทุกหมวด
ใครชอบจะเล่นงานหมวดไหนก็พูดหมวดนั้นให้มากสักหน่อยก็ได้
เพราะฉะนั้นอยากให้วาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น
เป็นวาระร่วมกันของประชาชนและของพรรคการเมือง โดยเอาเป้าหมายว่าทำอย่างไรให้เปลี่ยนแปลงให้ระบอบประชาธิปไตยอยู่ในอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง
ผลประโยชน์เฉพาะส่วน เฉพาะพรรค เฉพาะบุคคล เอาไว้ก่อน
ถ้าฝ่ายประชาชนไม่ชนะ
ถ้าตัวรัฐธรรมนูญแม่บทไม่สามารถแก้ไขให้เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนได้ แล้วเราทุกคนต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญบ้า
ๆ บอ ๆ ทั้งหมด มันจึงไม่มีเหตุผลที่ว่าจะต้องให้ใครมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนี้
ดิฉันก็ฝากเอาไว้ว่า ขอความสามัคคีในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้
ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองเล็ก/ใหญ่ และไม่ว่าจะเป็นฝ่ายประชาชนกลุ่มใดก็ตาม
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สามารถร่วมกันได้ และแตกขยายไปตามเป้าหมายของแต่ละกลุ่มได้ ค่ะ
อ.ธิดากล่าวในที่สุด
#แก้ไขรัฐธรรมนูญ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์