ธิดา
ถาวรเศรษฐ : ทำไมรัฐเผด็จการในระบบอุปถัมภ์ “ล้มเหลว” ในการแก้ปัญหาโควิด-19 [วัคซีนทางเลือกบ่งบอกความผิดพลาดในการป้องกันโรคระบาดโควิด]
เมื่อวันที่
31 พ.ค. 64 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ
ได้กลับมาสนทนากับทุกท่านอีกเช่นเคยผ่านเพจเฟซบุ๊กไลฟ์ ซึ่งก่อนเข้าสู่ประเด็น
อ.ธิดา ได้กล่าวว่า นี่ก็เป็นวันสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม
ที่ผ่านมาสองเดือนนี้ในเพจของดิฉันและแกนนำต่าง ๆ โดยเฉพาะเพจยูดีดีนิวส์
ก็ได้ลงเรื่องราวของเดือนเมษา-พฤษภามาเป็นลำดับ
ดิฉันก็ขอให้หลายท่านที่ยังไม่ได้ดูย้อนกลับไปดู
ไม่ว่าจะเป็นวีดีทัศน์เรื่อง “ยิงนกในกรง” ซึ่งทำขึ้นในสมัยที่ดิฉันเป็นประธานนปช.
ในวาระ 3 ปีของการรำลึก ซึ่งเรามีการชุมนุมที่ราชประสงค์
แต่ไม่ได้เปิดฉายด้วยปัญหาความขัดข้องแกนนำและทางพรรคการเมืองที่ไม่ต้องการให้เปิด
เราก็จะพยายามกระตุ้นให้ดูกันไปเรื่อย ๆ มีเหตุการณ์ตั้งแต่ 10เมษา มาเป็นลำดับ
มีแม้กระทั่งเพลงและคำรำลึกต่าง ๆ อย่างน้อยเมื่อตอนปี 2553 เราเดินกันทุกวันที่
10 และ 19 ทุกเดือน หลังจากนั้นในปี 54 ก็ชุมนุมกันเกือบทุกเดือน ในปีต่อ ๆ มาอย่างน้อยก็ปีละ
2 ครั้ง (เมษาและพฤษภา) ปีนี้ในวันที่ 19 พฤษภา เราไม่ได้จัด ก็ใช้วิธีที่ว่ารำลึกออนไลน์เป็นหลัก
ดิฉันก็ขอให้พวกเรายังคงอุดมการณ์ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
และต้องการที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ของวีรชนที่เสียสละชีวิตมาเป็นลำดับ เราเอาออกมา
มันก็คือ
1)
วิถีทางว่าเรายังต่อสู้ เรายังไม่ได้ลืม
2)
ที่เรานำภาพและเรื่องราวแม้กระทั่งคำปราศรัยออกมา
เพื่อเป็นบทเรียนให้กับการต่อสู้ในรอบใหม่ว่าให้ศึกษาด้านบวกและด้านลบ
ที่เราทำรำลึกออนไลน์มาเป็นลำดับก็เพื่อวัตถุประสงค์สองอย่างนี้
เพราะว่าไม่ใช่อยู่เพื่อมีชีวิตอยู่ของแต่ละคน
แต่อยู่เพื่อกู้ศักดิ์ศรีของวีรชนที่เสียสละไปแล้ว และกู้ศักดิ์ศรีของผู้คนที่ยังมีชีวิตอยู่
ที่ยังมีอุดมการณ์ในการต่อสู้นะคะ
เมื่อหมดเดือนพฤษภาคม
เราก็จะเข้าสู่เดือนมิถุนายน มันก็จะมีเรื่องราวของคณะราษฎร 2475
รวมทั้งสิ่งที่ยังทำได้ไม่จบ ไม่บรรลุ ตั้งแต่ยุคนั้นมาเป็นลำดับ
เพราะฉะนั้นเมื่อเข้ามิถุนายน ก็เข้าสู่การรำลึกในรอบใหม่ เมื่อการต่อสู้ของประชาชนยังไม่ประสบผลสำเร็จ
ก็คืออำนาจส่วนใหญ่ควรจะเป็นของประชาชน ไม่ใช่คณะบุคคล เราก็ต้องสู้ต่อไป!
วันนี้ประเด็นที่ดิฉันจะคุยก็คือ
ทำไมรัฐเผด็จการในระบบอุปถัมภ์
“ล้มเหลว” ในการแก้ปัญหาโควิด-19
[วัคซีนทางเลือกบ่งบอกความผิดพลาดในการป้องกันโรคระบาดโควิด]
ถ้าเราบอกว่า
“รัฐล้มเหลว” ตามประเด็น หลายคนอาจจะบอกว่าทำไมล้มเหลว ยังไม่เห็นล้มเหลวเลย
ก็นี่ไง กำลังฉีดวัคซีน
ให้ท่านมาดูต่อในหัวข้อรองว่า
แล้วทำไมต้องมีวัคซีนทางเลือก?
ทำไมสถาบันจุฬาภรณ์ต้องออกมาสั่ง
“ชิโนฟาร์ม”
ทำไมองค์การบริหารส่วนจังหวัดและพวกโรงงานอุตสาหกรรมและคนต่าง
ๆ แห่ไปยื่นที่สถาบันจุฬาภรณ์เป็นแสน ๆ นึกว่าจะได้ “ชิโนฟาร์ม” ไม่ใช่!
คือสถาบันจุฬาภรณ์ก็ยังฉีดวัคซีนที่รัฐบาลอวดอ้างว่าจะได้มา
แต่การที่มีวัคซีนทางเลือก และขณะนี้เท่าที่ดิฉันทราบไม่ใช่ “ชิโนฟาร์ม”
อย่างเดียว ขณะนี้ “โมเดอร์นา” ก็กำลังจะเข้ามาผ่านองค์การเภสัชกรรมแบบเดียวกัน
แต่ว่ามุ่งสู่โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนก็ต้องจอง
ต้องจ่ายเงินกับองค์การเภสัชกรรม
ในขณะที่สถาบันจุฬาภรณ์มีการพูดคุยกันมาก่อนแล้วกับสภาอุตสาหกรรม อาจจะมีสภาหอการค้าด้วยหรือเปล่า?
และพวกกลุ่มอบจ.
เพราะฉะนั้น
1 ล้านโดสของ “ชิโนฟาร์ม” ก็คือ
แปลว่ารัฐไทยยอมรับแล้วว่าที่ตัวเองวางแผนวัคซีนมาเป็นลำดับ แล้วก็คุยโม้โอ้อวด
ก่อนหน้านั้นก็ให้ผู้ตรวจราชการไปบอกว่าอบจ.ไม่ให้ซื้อ สภาอุตสาหกรรมก็ไม่ให้ซื้อ
มาถึงตอนนี้ต้องยอมรับความจริง
เพราะขณะนี้มันมีปัญหาทั้งวัคซีน
“แอสตร้าเซเนก้า” และ “ซิโนแวค” ที่ใช้กันอยู่ เพราะวัคซีน “ซิโนแวค” จริง ๆ
เราก็สนับสนุนที่จะให้มีการฉีด
แต่ว่ามันก็ปรากฎปัญหาหลายอย่างที่ยังไม่ชัดเจนในปัญหาผลข้างเคียง
จนกระทั่งไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดปัญหาเพราะฉีดวัคซีน อาจจะบอกว่าเป็นโรคเก่า
อีกอันหนึ่งก็คือจนป่านนี้
WHO ยังไม่ยอมรับ มีข้อเสนอว่าต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมในเฟส 3
และอาจจะมีความไม่สบายใจในวิธีการผลิต
คือก่อนหน้านี้บริษัทซิโนแวคทำวัคซีนที่เกี่ยวกับโรคตับในปริมาณที่น้อยมาก
เพราะฉะนั้นต้องดูนะว่าโรงงานที่ผลิตเขาเคยทำอะไรมาบ้าง นี่ขนาดเคยทำนะ แต่ว่าขายประมาณ
200 กว่าล้าน US Dollar เท่านั้น (*ต้องขออภัย* ในคลิปพูดว่า
200 กว่าล้านโดส) ตอนนี้มาขยายทำ “ซิโนแวค”
ตรงนี้ก็อาจจะมีที่ยังไม่ได้รับการยอมรับในด้านการผลิตและปัญหาผลที่เกิดขึ้น
เพราะแม้จะทำจากเชื้อตายเหมือนกับ “ชิโนฟาร์ม” ซึ่ง “ชิโนฟาร์ม” ได้รับการยอมรับ
แต่เชื้อที่มาทำอาจจะเป็นเชื้อคนละตัว คนละ Strain กัน
Strain
หมายถึงว่า ชื่อเชื้อเหมือนกันแต่ว่ามันคนละตัว ก็คือ สมมุติว่า
อ.ธิดาเป็นเชื้อโรคก็คือพันธุ์ที่ขยายจากอ.ธิดา หรือพันธุ์ที่ขยายจากพล.อ.ประยุทธ์
ก็คือคนละพันธุ์กัน
อันที่สอง
ก็คือกระบวนการผลิตและการใส่สิ่งที่เรียกว่า Adjuvants ใส่ตัวช่วยอะไรต่าง ๆ
เหล่านี้ก็ไม่ได้เหมือนกัน แม้ว่าจะเป็นวิธีการโบราณแบบเดียวกัน
เหมือนองค์การเภสัชกรรมของเราซึ่งก็กำลังทำอยู่ ถ้าได้รับการสนับสนุนแต่ต้น
ป่านนี้อาจจะโอเคกว่า “ซิโนแวค” ก็ได้
เพราะฉะนั้น
ในขณะนี้พอมีวัคซีนทางเลือก อันที่สองคือปัญหา “แอสตร้าเซเนก้า”
ชัดเจนว่ามีความไม่แน่นอน ที่รู้ก็คือว่าที่บอกว่า 6 ล้านโดสนั้นไม่น่าเป็นไปได้
ถ้าเราติดตามไม่ว่าจะเป็นการพูดของประธานแพทย์ชนบท
หรือข่าววงในจากกระทรวงซึ่งดิฉันก็ได้รับมาก็คือว่า เขาจะให้มาเป็นล็อต ๆ
ว่ากันเป็นสัปดาห์ สัปดาห์ละเท่าไหร่ก็ไม่รู้
อย่าลืมว่า
ถ้าคุณคิดว่า “สยามไบโอไซเอนซ์” ยังไม่สามารถทำได้แล้วจะไปเอาจากที่ไหน
จากอินเดีย?
ไม่ได้ เพราะเขาใช้ของเขายังไม่พอ
เอาจากยุโรป?
ไม่ได้ เพราะยังฟ้องร้องกันอยู่ สหภาพยุโรปฟ้อง “แอสตร้าเซเนก้า” ว่าไม่สามารถส่งให้เขาได้ตามสัญญา
เราก็ทำท่าบอกว่าเขาสัญญากับเราแล้ว ถ้าไม่อย่างนั้นเราก็ต้องมีการฟ้องร้อง ขอโทษ!
เขาฟ้องกันมาแล้ว (ขนาดใหญ่กว่าอีก) เพราะว่าการผลิตมันไม่ง่ายด้วย ที่เขาทำในอังกฤษเขาก็ใช้ในอังกฤษเป็นส่วนใหญ่
ที่ทำในยุโรปก็ไม่สามารถส่งไปให้ WHO
ตามสัญญาได้และใช้ในสหภาพยุโรปเองก็ไม่พอ เพราะ “แอสตร้าเซเนก้า”
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่ากระบวนการผลิตจะได้ตามนั้น 100% หรือเปล่า มันไม่ง่าย
เพราะว่าเทคนิคเทคโนโลยีอันนี้ ในทัศนะดิฉันมันทำออกมายากกว่า Technology
messenger RNA ของไฟเซอร์ ของโมเดอร์นา ซึ่งอาศัยผลิต messenger
RNA จากแบคทีเรียซึ่งทำได้ง่ายกว่า ดังนั้น ปริมาณน่าจะแน่นอนกว่า
ตามสัญญาก็ยังพอทำได้
เพราะฉะนั้น
ปัญหา “แอสตร้าเซเนก้า” ก็มีปัญหาในการผลิต แม้ WHO จะรับรอง
แม้จะมีความไม่ชัดเจนบางอย่างในกลุ่มของผู้หญิงที่อายุต่ำว่า 60 ปี แม้จะมีปัญหาอยู่บ้างว่าประสิทธิภาพจะด้อยกว่า
“ไฟเซอร์” หรือ “โมเดอร์นา” ก็ตาม แต่มันก็ยังใช้ได้ทั่วไปและยังใช้อยู่มาก
ดังนั้น
มันมีปัญหาทั้ง “ซิโนแวค” ทั้ง “แอสตร้าเซเนก้า”
“ซิโนแวค”
นั้น รัฐเอามาใช้เติม เพราะ “แอสตร้าเซเนก้า” ทำได้ไม่ทันเวลา ก็เอา “ซิโนแวค” มา
แล้วเอา “แอสตร้าเซเนก้า” จากเกาหลีได้มาแสนกว่าโดสมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
มาถึงบัดนี้
ซึ่งดิฉันก็รู้แต่ต้นแล้วว่าพฤษภาคมไม่มีทางได้ มิถุนายนไม่รู้จะได้เท่าไหร่
มันไม่ง่ายในการผลิต เท่าที่ทราบก็คือการตรวจสอบที่บอกว่า 9 ครั้ง
เป็นการนับตั้งแต่ต้น มาตอนที่ผลิตในเชิงอุตสาหกรรมนั้นผ่านแค่ไหน
ดังนั้น
ถามว่าคิดยังไง? ถึงผูกขาดเอา “แอสตร้าเซเนก้า” อย่างเดียว
แล้วคิดยังไง?
ทำไมถึงเอา “ซิโนแวค” ไม่เอา “ชิโนฟาร์ม”
ประการหลัง
“ซิโนแวค” หลายคนก็นินทาว่าเป็นของเจ้าสัวหรืออะไร? บางคนก็นินทาว่ามันคุยกันง่าย เป็นของเอกชนซึ่งคุยกับรัฐนั้นคุยง่าย
เขาก็คิดไปไกลเรื่องใต้โต๊ะเรื่องอะไรประมาณนั้น
แล้วทำไมไม่เอา
“ชิโนฟาร์ม” ตั้งแต่ต้น เพราะเขาก็ยังมีการแบ่งให้ประเทศแถวนี้ยกตัวอย่างเช่น
กัมพูชา ลาว เป็นต้น เขาก็ได้ “ชิโนฟาร์ม” ตั้งแต่ต้น
แล้ว
“แอสตร้าเซเนก้า” ถามว่าความล้มเหลวอันนี้ ดิฉันจะขอพูดเป็นภาพรวมให้เห็นว่า
ทำไมรัฐเผด็จการในระบบอุปถัมภ์จึงล้มเหลวในการแก้ปัญหา
เพราะว่าคำว่ารัฐเผด็จการในระบบอุปถัมภ์ จริง ๆ มันเป็นตัวเฉลย คือ รัฐเผด็จการมันมีโอกาสที่ว่าดีก็ดีไปเลย
เลวก็เลวไปเลย แต่ว่ารัฐเผด็จการที่จะดีไปเลยนั้นยากมาก
เพราะในโลกสมัยใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง มีองค์ความรู้ในการแข่งขัน ในการพัฒนา
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งปัญหาโรคระบาด
ซึ่งยากที่รัฐเผด็จการและจารีตจะตามทัน ดิฉันก็พอจะสรุปได้เป็น 3 ประเด็น คือ
1)
ความพยายามจะปกป้องอำนาจนำในการปกครองโดยกลไกรัฐข้าราชการทหาร/พลเรือนและบุคลากรทางการแพทย์
แปลว่าคนเหล่านี้มีแนวความคิดก็คือปกป้องรัฐอันนี้
(อำนาจนำ) เพราะว่ามันเป็นระบบอุปถัมภ์
ก็แปลว่าเขาได้ประโยชน์จากการที่รัฐเผด็จการในระบบอุปถัมภ์แบบนี้มีอำนาจในการปกครอง
ดังนั้นจึงพยายามจะปกป้อง ไม่พยายามจะสวนทาง พยายามที่จะแก้และปกปิดความผิดพลาด
มันจึงไม่ทันการณ์ แล้วก็เย่อหยิ่ง ตอนยุคอู่ฮั่นมาก็คิดว่าเราแก้ปัญหาได้
แต่ในที่สุดไม่ได้
เพราะฉะนั้น
ปัญหาข้อแรกก็คือความพยายามจะปกป้องอันเนื่องมาจากคนเหล่านี้เป็นสายของรัฐอุปถัมภ์
คือ นายว่าเป็นชั้น ๆ ไม่กล้าเถียง ไม่กล้าโต้แย้ง ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นแตกต่าง
ว่าไงก็ว่าอย่างงั้น ดังนั้นเวลาประชาชนรับฟังข้อมูลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็สับสน
เพราะว่าองค์ความรู้และข่าวคราวไม่ได้มาจากสายรัฐอุปถัมภ์อย่างเดียว
มาจากสายอื่นที่อยู่นอกระบบ มีเยอะแยะเลย รับฟังข่าวจากต่างประเทศก็ได้
รับฟังข่าวจากอาจารย์/แพทย์หรือผู้ที่รู้ที่ไม่ได้อยู่ในกลไกรัฐอุปถัมภ์อันนี้ก็ได้
นี่คือสาเหตุของการพยายามจะปกป้อง
ทีแรกเลยคนที่คิดผูกขาดวัคซีนแบบนี้มาจากวิธีคิดที่ผิด ก็คือ
การปฏิบัติมันจะผิดก็ต่อเมื่อมีวิธีคิดและองค์ความรู้ที่ผิด การที่มีบอร์ด SCG แล้วก็ดึง
“สยามไบโอไซเอนซ์” ให้เข้าไปร่วมในการที่จะทำเทคโนโลยีอันนี้
บอร์ดนั้นก็คงจะไม่ผิด “สยามไบโอไซเอนซ์” ก็ไม่ผิดที่อยากจะทำ
แต่รัฐไทยกับบุคลากรการแพทย์นี่แหละที่ผิด
คำถามก็คือ
SCG เขาจะรู้ได้อย่างไร เขาไม่ใช่บุคลากรการแพทย์ เขาก็คิดว่าดี “สยามไบโอไซเอนซ์” ก็คิดว่าการรับเทคโนโลยีนี้ก็จะดี
แต่ถามว่ารัฐไทยที่ผูกขาด “สยามไบโอไซเอนซ์” คิดได้ยังไง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรการแพทย์ เพราะอยู่ในข้อแรก คือสนับสนุนปกป้อง
เพราะเหตุว่าบุคลกรการแพทย์และกระทรวงสาธารณสุขต้องมีองค์ความรู้ว่าวัคซีนมีบทบาทสำคัญมาก
เป็นตัวชี้ขาดเรื่องโรคระบาดที่ไม่มียารักษา ในอดีตเราต้องทำหนองฝี
เราต้องมีวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นสารพัดโรคที่ใช้วัคซีนแล้วก็ทำให้หยุดโรคระบาดไปได้
วัคซีนเป็นตัวชี้ขาด มันต้องรู้!
แล้วในขณะนี้เป็นโรคอุบัติใหม่
ใช้เทคโนโลยีใหม่ “สยามไบโอไซเอนซ์” ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่คุณก็ต้องรู้ว่าการผลิตพวกนี้มันไม่ง่าย
แม้กระทั่งบริษัทในยุโรปหรือบริษัทที่เขาเคยทำวัคซีนมาแล้วก็ยังทำตามสัญญาไม่ได้
ปัญหาคือรัฐไทย กระทรวงสาธารณสุข บุคลากรการแพทย์ ไม่ได้ใช้องค์ความรู้ ก็คิดตาม ๆ
กัน
ดังนั้น
ความคิดที่ไม่ถูกต้องและไม่ยอมใช้ความรู้ นำมาซึ่งการปฏิบัติที่ผิดพลาด
ด้วยเป้าหมายก็คือผลประโยชน์ของตัวเองที่ต้องการปกป้องรัฐแบบนี้
เขาพากันลงห้วยหนองคลองบึง ลงทะเล ก็ตาม ๆ กันไป ทั้ง ๆ
ที่ตัวเองควรเป็นผู้ที่จะโต้แย้ง ชี้แจง ทำไมไม่เหมือนมาเลเซีย
ทำไมไม่เหมือนสิงคโปร์ ทำไมไม่เหมือนประเทศอื่นซึ่งเขาต้องมีวัคซีนทางเลือกหลายตัว
ผิดก็ยอมผิด ไม่ต้องมาอ้างเรื่องเสียเงิน ผลประโยชน์ประเทศชาติเสียหายมากกว่า
ถ้าคุณมีวิสัยทัศน์ว่าควรจะมีวัคซีนทางเลือกตั้งแต่แรก
กลายเป็นวัคซีนไม่มีทางเลือกแบบคุณณัฐวุฒิพูด
ประชาชนเหมือนไม่มีทางเลือก แต่ตอนนี้มันเกิดวัคซีนทางเลือกขึ้นมา เหตุผลเพราะว่ามันเริ่มรู้แล้วว่ามันจะไม่เป็นไปตามนั้น
เป็นความผิดพลาดที่ต้องยอมรับ อย่าเถียงว่าไม่ล้มเหลว มันล้มเหลวแล้ว
และถูกบีบจากสภาอุตสาหกรรมและชนชั้นนำในสังคม
ถูกบีบจากคนเหล่านี้ว่าคุณต้องมีวัคซีนทางเลือกให้ทันเวลา ที่มีคุณภาพด้วย
เขายอมจ่ายเงิน
แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น?
ก็มีพวกหนึ่งต้องใช้วัคซีนของรัฐที่ไม่มีทางเลือก
แล้วคนที่พอจะมีเงินก็ใช้วัคซีนทางเลือก มี “ชิโนฟาร์ม” ต่อไปก็มี “โมเดอร์นา”
หรือ “ไฟเซอร์” เป็นต้น
ลึก
ๆ แล้วก็คือพวกนักวิชาการการแพทย์ บุคลากรการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และรวมทั้งองค์กรในรัฐทั้งหลาย
ศบค. ที่ประชุมกัน และก็มีหัวหน้าเป็นฝ่ายความมั่นคง
ก็คือต้องการปกป้องระบอบคณาธิปไตย ปกป้องอำนาจของตัวเอง ปกปิดความผิดพลาดจนกระทั่งปิดไม่ไหว
ในที่สุดก็ต้องยอมรับ
2)
กลุ่มบุคคลเหล่านี้ นอกจากปกป้องคณาธิปไตย ยังไม่มีแนวความคิดเสรีนิยมด้วย เพราะถ้าคุณมีความคิดเสรีนิยม
คุณต้องยอมรับความหลากหลาย คุณจะทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือก
คุณจะทำให้ประเทศชาติไม่มีทางเลือก มันไม่ได้!
ประเทศที่พัฒนาได้ก็มาจากการแข่งขันและความคิดหลากหลาย
ในโลกนี้การต่อสู้กับโรคระบาดเขาก็ต้องแข่งขันกัน ก็คือแต่ละเทคโนโลยีต้องแข่งขันกันว่าอันไหนจะดีที่สุด
ถ้าคุณไม่มีความคิดเสรีนิยม
คุณก็ไม่สามารถที่จะมีทางเลือกที่ดีกว่าให้กับประเทศนี้
ไม่ต้องพูดเลยว่าประเทศมันจะต้องย่อยยับต่อไปข้างหน้า!
ดังนั้น
บุคลากรการแพทย์ นอกจากปกป้องคณาธิปไตย ไม่มีความคิดเสรีนิยม
ไม่มีความคิดในเชิงแข่งขันด้วยในองค์ความรู้ที่จะเอามาต่อสู้กับเชื้อโรค
โรคระบาดโควิด
3)
ปัญหาของความไม่เท่าทันในเวทีโลกในปัญหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ
ไม่น่าเชื่อว่าการแพทย์ไทยซึ่งเคยได้รับการยกย่องว่ายอดเยี่ยม
ครั้งนี้จะทำให้ประเทศและประชาชนพังพินาศ มันเป็นไปได้อย่างไรที่บุคลากรในทางสาธารณสุขไม่อ่านเอกสาร
ไม่อ่านงานวิจัยให้ทันเวลา และแม้กระทั่งต่อให้คุณเป็นหน่วยงานความมั่นคง
ต่อให้คุณเรียนรัฐศาสตร์ เรียนอะไรมา คุณก็ต้องตามข่าว ตามได้หมดแหละ มีทั่วโลก มันต้องตามข่าว
ดิฉันเรียนมาทางเรื่องเชื้อโรค
แต่ดิฉันก็ต้องตามข่าวในทุกเรื่อง คนอื่นไม่ได้เรียนเรื่องเชื้อโรค
เวลามีโรคระบาดคุณก็ต้องตามข่าว แปลว่าคุณมีความเชื่อมั่นในตัวเอง
เป็นความเชื่อมั่นที่ยึดมั่นอยู่กับที่ ดังนั้น อย่าได้แปลกใจ
แต่เดิมดิฉันจะลืมไปแล้วว่าบุคลากรสาธารณสุขและชนชั้นนำในประเทศไทย
ออกมาเป่านกหวีด มากันเป็นกองเลยนะ ถือธง ถือป้าย มาเป็นลำดับ
ดิฉันพยายามจะคิดว่ามันไม่เกี่ยว อันนี้เป็นเรื่องของการรักษาโรคระบาด
ไปที่ไหนดิฉันก็บอกว่าไม่ต้องห่วงหรอก บุคลากรการแพทย์ของไทยนี้เก่ง
แต่ในที่สุดดิฉันต้องยอมรับแล้วว่า
ความคิดที่ไม่ถูกต้องมีความสำคัญมาก เมื่อความคิดที่ไม่ถูกต้องในทางการเมืองคือจะปกป้องรัฐแบบจารีตอำนาจนิยม
มันก็จะมาปิดบังองค์ความรู้และความสามารถ
ไม่น่าเชื่อว่าประเทศที่น่าจะมีความเชื่อมั่นว่าบุคลากรและการสาธารณสุขของไทยเป็นแบบอย่าง
แต่พอมาเจอการระบาดหนัก พูดตรง ๆ ว่าเป็นปัญหายักษ์ของวงการสาธารณสุขเข้า
บุคลากรการแพทย์และประเทศไทยจะจอดป้ายง่าย ๆ แล้วตอนนี้อย่าบอกว่าไม่ล้มเหลวนะ
มันล้มเหลวแล้ว เหลือแต่พวกคุณจะไปสำนึกได้หรือไม่ว่ามันผิดเพราะอะไร
เพราะคุณคิดผิด มันมาจาก
-
ปัญหาผลประโยชน์
-
ปัญหาของการที่คุณปกป้องคณาธิปไตย
-
ปัญหาที่คุณไม่มีความคิดเสรีนิยมในการที่จะให้มีองค์ความรู้หลากหลาย
คุณไม่ใส่ใจ
เพราะคุณคิดว่าที่มีอยู่ ที่ทำอยู่มันก็ดีแล้ว ไม่ต้องไปเถียงใคร เอาแบบนี้แหละ
แล้วตอนนี้ยอมรับแล้วยังว่าที่มีวัคซีนทางเลือก ดิฉันจะบอกให้ คุณต้องจนแต้มกับ
“แอสตร้าเซเนก้า” ที่มาเป็นสัปดาห์
นี่ก็คือเรื่องที่ดิฉันคิดว่าในที่สุดเราอย่าประมาทว่าเราเก่ง
เรามีความรู้ คนทุกคนต่อให้เก่งอย่างไร ถ้ามีความคิดที่ไม่ถูกต้อง ไม่ได้รู้จริง
ไม่ได้มีความคิดในการที่จะส่งเสริมให้มีการพัฒนา คิดว่าตัวเองเก่ง
การปฏิบัติก็ไม่ถูกต้อง มันก็ส่งผลให้ประเทศชาติและประชาชนพังพินาศไปด้วย
อ.ธิดากล่าวในที่สุด