วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

#11ปีพฤษภา53 ตอนที่ 6 : ปฏิบัติการขั้นที่ 4 ในยุทธการกระชับวงล้อมราชประสงค์และบทส่งท้าย

 


#11ปีพฤษภา53

 

ตอนที่ 6 : ปฏิบัติการขั้นที่ 4 ในยุทธการกระชับวงล้อมราชประสงค์และบทส่งท้าย

 

จากบทบรรยาย "ยุทธการยิงนกในกรง"

(เหตุการณ์หลัง 10 เมษายน 2553 20 พฤษภาคม 2553)

 

ยุทธการกระชับวงล้อม – ราชประสงค์ – ขั้นปฏิบัติการขั้นที่ 4

 

ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 1 วัน  คือวันที่ 20 พฤษภาคม 2553  หรือหลังจากการสลายม็อบ 1 วัน  ซึ่งขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่ระบุว่า  พบหลักฐานที่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย  ทั้งอาวุธต่าง ๆ  โดยที่ทหารระบุว่าเป็นของคนเสื้อแดง  และรวมถึงสิ่งผิดกฎหมายอื่น ๆ  ที่ทหารก็ระบุว่าเป็นของคนเสื้อแดงทั้งหมด  แต่นั้นคงจะไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะสาระสำคัญนั้นอยู่ที่ผลพวงของการใช้ยุทธศาสตร์ทางทหารมาเป็นหลักของการแก้ปัญหาการเมืองของรัฐบาลอภิสิทธิ์  จนมีการสูญเสียชีวิตและมีการบาดเจ็บมากมายของประชาชน  เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนจิตใจและเป็นคำถามที่ยังไร้คำตอบ ไร้ความรับผิดชอบจากผู้กระทำการที่ออกสู่สายตาชาวโลกและประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายได้เห็นแล้วในปฏิบัติการยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์  สิ่งเหล่านี้ใช่หรือไม่ที่ชาวโลกควรจะได้รับรู้ความจริงและเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้สั่งการที่อยู่เบื้องหลังการตายทั้งหมดของเหตุการณ์ครั้งนี้

 


ส่งท้ายของปฏิบัติการยุทธการกระชับวงล้อม พื้นที่ราชประสงค์ วันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553 ที่คนทั่วโลกควรจดจำ

 

- หน่วยรับผิดชอบในการวางกำลังยุทธการปฏิบัติการ 3 เหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก, กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ

- กำลังของกองทัพบกจำนวน 3 กองพบ ได้แก่

กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.ร1.รอ.) ใช้กำลัง 3 กรมหลักคือ    

ร.1 รอ., ร.11 และ ร.31 รอ. ให้ ร.1 รอ. กับ ร.11 รอ. วางกำลังส่ง

พื้นที่ดินแดง พญาไท ราชปรารภ ร.31 รอ. เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว

พร้อมปฏิบัติการพิเศษ

กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่

ถนนวิทยุ, บ่อนไก่, ศาลาแดง, ลุมพินี, สามย่าน

กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) ดูแลพื้นที่อโศก, เพลินจิต, ชิดลม

 


นอกจากนี้ยังมีกองกำลังพร้อมสนับสนุนคือ พล.ร.2 รอ. กำลังของหน่วยอากาศโยธิน (อย.) ของกองทัพอากาศแสตนบายพร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ 24 ชั่วโมง และมีหน่วยปฏิบัติการทางอากาศพร้อมขึ้นบินพื้นที่ราชประสงค์ ขณะที่กองทัพเรือรับภารกิจพิเศษอารักขาสถานที่สำคัญ

 

หน่วยพิเศษของทหารเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกฝนและทหารเห็นว่าประสบความสำเร็จมากในเหตุการณ์ 10 เมษา 53 คือ หน่วยสไนเปอร์ประจำการตามตึกสูง พลซุ่มยิงพร้อมคนชี้เป้ายิง

- กองทัพใช้งบประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท สำหรับกำลังพล 67,000 นาย ในภารกิจนี้

- มีการเบิกจ่ายกระสุน 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด เท่ากับใช้

ไป 117,923 นัด (ภายหลังมีการอัพเดทรายงานการคืนกระสุนครั้งที่ 2 คือมีการเบิกจ่ายกระสุน 778,750 นัด ส่งคืน 586,801 นัด เท่ากับใช้ไป 191,949 นัด)

- กระสุนสำหรับการซุ่มยิง 3,000 นัด ส่งคืน 880 นัด เท่ากับใช้ไป 2,120 นัด

- ตำรวจใช้งบไปกว่า 700 ล้านบาท สำหรับกำลังพลราว 25,000 นาย

 


ตัวเลขผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากการสลายการชุมนุม เมษา – พฤษภา 53

- ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 99 ราย

- แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 10 ราย

- พลเรือนเสียชีวิต 89 ราย

- ผู้หญิง 7 ราย

- ผู้ชาย 92 ราย

- เสียชีวิตจากกระสุนปืน 82 ราย

- ผู้เสียชีวิตอายุน้อยที่สุด 12 ปี

- ผู้บาดเจ็บทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1,283 ราย


#นปช #คนเสื้อแดง

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์