จารีตนิยมที่ไม่เห็นหัวประชาชนทั้งหมดและเลือกใช้ม้าเพียงตัวเดียว
นี่คือทางตันของวัคซีน!
ยูดีดีนิวส์
: วานนี้ (28 ม.ค. 64) อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ
ได้กล่าวในการทำเฟซบุ๊คไลฟ์ในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งจริง ๆ มีทั้งปัญหาเศรษฐกิจ
การเมือง สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเจ็บป่วย
โดยวันนี้จะพูดเรื่องสำคัญที่เร่งด่วนก่อน อันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพของคนไทย
ไม่ว่าเราจะมีความคิดต่างกันอย่างไรก็ตาม ชีวิตของคนไทยทุกคนมีค่าทั้งสิ้น
ไม่ใช่เฉพาะประชาชนไทย แต่หมายถึงทั้งโลกด้วย
แล้วไม่ใช่เฉพาะประชาชนไทยที่เป็นคนแท้
แม้กระทั่งคนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย จะเป็นแรงงานต่างชาติหรือนักท่องเที่ยวก็ตาม
ชีวิตมีค่าทั้งสิ้น ซึ่งประเด็นที่จะพูดก็คือ
ทางตันของวัคซีนจากความคิดจารีตนิยมไทย
“สยามไบโอไซเอนซ์”
คือ ม้าศึกที่ยังไม่เคยลงสนามแข่ง!
อ.ธิดา
กล่าวว่า อันเนื่องมาจากปัญหาของการระบาดโควิด ดิฉันเองก็ไม่ใช่จะติเรือทั้งโกลน
ก็ต้องชมว่าแพทย์ไทย กระทรวงสาธารณสุขไทย รวมทั้งหมด รัฐบาลทำได้ดีระดับหนึ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับมือในรอบแรก ความจริงในรอบแรกก็มีเรื่องให้ตำหนิหลายเรื่อง
แต่ดิฉันคิดว่ามารอบนี้ปัญหามันเยอะกว่า ลึกกว่า แล้วจะส่งผลสะเทือนระยะยาว
ฉะนั้นดิฉันก็คิดว่าจะมาโฟกัสในสถานการณ์ปัจจุบัน
ทำไมถึงบอกว่าเป็นทางตัน?
อ.ธิดา
เฉลยว่า คือในปัญหาสุขภาพโควิดนี้ ดิฉันขอสรุปเป็นข้อ ๆ ก็คือ ปัญหาความล้มเหลวของรัฐบาลและหน่วยงานความมั่นคงของกระทรวงสาธารณสุข
ประเด็นแรก
ก็คือ การควบคุมการนำเข้าโรคจากต่างแดน มันไม่ใช่โรคในประเทศ และครั้งที่สองเป็นเรื่องน่าอับอายว่ามันไม่ใช่ปัญหาจากการที่เราควบคุมการระบาดครั้งที่
1 ไม่ได้นะ แต่เป็นการนำเข้ามา
คือนำเข้าครั้งแรกก็มีปัญหา
แต่ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากนักท่องเที่ยวทางสายการบิน
แต่การนำเข้าจากต่างแดนครั้งที่
2 มันเป็นการนำเข้าเชื้อโรคจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งพูดตรง ๆ นะ
ถ้าคนไม่โง่จนเกินไปต้องเดาได้แล้วว่าเมื่ออินเดียติดมาก พม่าติด เมื่อพม่าติดมาก
ก็ต้องเข้ามาที่ไทย คุณอ้างว่ามีทหาร 2 แสน แล้วจะให้ไปยืนเฝ้าชายแดน ถ้าบอกให้ไปยืนเฝ้า
จะบอกว่าเป็นความโง่มาก ๆ ก็ได้ มีใครเขาทำอย่างนั้น
คุณไม่มีวิธีอื่นแล้วหรือในการที่จะดูแลชายแดนให้มีความมั่นคง
เอ...ดิฉันว่าคงต้องมี
พคท. ใหม่อีกทีมั้ง ยาเสพติดหนึ่ง ปัญหาความมั่นคงชายแดนหนึ่ง รัฐบาลสบายเลยเพราะว่าชายแดนมีพลพรรคพคท.คอยดูแลเรื่องป่าไม้,
ยาเสพติด, โจรต่างแดน พอตอนนี้ไม่มีพคท. ก็เหลือแต่ “มาเฟียนอกเครื่องแบบกับในเครื่องแบบ”
ที่คุมเรื่องชายแดน...ไม่รู้หรืออย่างไร?
ถือว่านี่เป็นความผิดพลาดซึ่งไม่ควรจะให้อภัย!
ประเด็นที่สอง
คุณไม่สามารถควบคุมแรงงานต่างชาติ การควบคุมแรงงานต่างชาติคือบทเรียนในสิงคโปร์ซึ่งเขาควบคุมครั้งที่
1 ได้แล้ว พอมาเกิดครั้งที่ 2 ก็รู้อยู่แล้วว่ามาจากแรงงานต่างชาติ
แล้วถามว่าเมื่อรู้ว่าชายแดนประเทศเพื่อนบ้านติดเชื่อวันละเป็นพัน ๆ คน
แล้วแรงงานของเราเป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจากพม่าเป็นด้านหลัก และรู้ว่าแรงงานจะกระจุกตัวอยู่ที่ไหน
คำถามที่
2 ก็คือ ความมั่นคงที่ไม่ใช่ชายแดน คุณตั้งหน่วย กอ.รมน. เต็มไปหมด
(เป็นรัฐซ้อนรัฐ) ทำอะไรคะ กอ.รมน. จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดที่มีแรงงานต่างชาติ
เพราะกอ.รมน.กับกองทัพไทยสนใจพี่น้องประชาชนที่มีความเห็นต่างมากกว่าที่จัดการปัญหาความมั่นคงของชาติที่นำเข้ามา!
ฉะนั้น
นี่เป็นความล้มเหลวที่ให้อภัยไม่ได้เลย
ในฐานะรัฐบาลที่มีศูนย์รวมและมีหน่วยงานความมั่นคงระดับชาติ ระดับจังหวัด
ที่ซ้อนเข้าไปในมหาดไทย คือ การควบคุมประเทศโดยหน่วยงานความมั่นคงนั้นเบ็ดเสร็จ
ประเด็นที่สาม
คือ การพยายามที่จะแก้ปัญหาในเชิงรุก การตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อในเชิงรุก
และการไม่พยายามที่จะเข้าใจว่าโควิดนั้นมันไม่จำเป็นที่จะต้องป่วยแล้วเดินมาที่โรงพยาบาล
การติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการรุนแรงและสามารถส่งต่อไปทำให้คนอื่นเกิดอาการรุนแรงได้
มันเป็นสิ่งที่เป็นปัญหาความผิดพลาดของรัฐบาล (ศูนย์ศบค.และกระทรวงสาธารณสุข)
ที่ไม่มีการค้นหาผู้ติดเชื้อในเชิงรุก
ตอนนี้ก็บอกว่าใจเย็น
ๆ นะ เราอาจจะพบผู้ป่วยวันละ 7-800 หรือเป็นพันคน เพราะว่ามีการค้นผู้ป่วยในเชิงรุก
แต่ดิฉันเชื่อว่าก็คงทำเฉพาะสมุทรสาคร ไม่ไปทำที่อื่น อ.ธิดากล่าวว่า
คุณทำเฉพาะสมุทรสาครก็ไม่ได้นะคะ การค้นหาเชิงรุกจะต้องมีการคืบคลานไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเช่นกัน
แล้วสุดท้ายที่เป็นปัญหาที่ต้องพูดในวันนี้ก็คือการแก้ปัญหาโดยใช้
“วัคซีน” ที่นำมาสู่ “ทางตัน” จากความคิด “จารีตนิยม” และด้วยความเป็นห่วงว่า “สยามไบโอไซเอนซ์”
เป็นม้าศึกที่ไม่เคยลงสนามในการต่อสุ้!
อ.ธิดากล่าวว่า
ในปัญหาทางตันของวัคซีนในความคิดจารีตนิยมก็คือการตั้งรับ ไม่เป็นการตั้งรุก
คำถามว่าความคิดจารีตนิยมมันแสดงออกอย่างไร
ประการแรก ความคิดจารีตนิยมจะไม่คำนึงถึงประชาชนส่วนใหญ่ทั้งหมด
ถ้าประเทศที่เขาไม่ได้คิดแบบจารีตนิยม ดิฉันจะยกตัวอย่าง
-
สิงคโปร์ เขาจะต้องฉีดให้ประชาชนทั้งหมดเลย เขาวางแผนฉีดหมด
-
มาเลเซีย เขาวางแผนฉีด 80% เป็นอย่างน้อย
ของเราวางแผน
50% ในเวลา 3 ปีค่ะ
ความจริงดิฉันมีเปเปอร์เยอะไม่ว่าจะเป็นคุณหมอเอกภพ
เพียรพิเศษ ส.ส.ก้าวไกล โฆษกกรรมาธิการสาธารณสุข ก็พูดถึงผลการประชุมกรรมาธิการและรวมทั้งข้อมูลก่อนหน้านั้นที่บอกว่า
จัดหาวัคซีนปี 2021 จำนวน 22 ล้านโดส ครอบคลุม 11 ล้านคน แต่ตั้งเป้า 50%
ภายในปี 2021 โดยไม่รู้ว่าจะไปเอาวัคซีนที่ไหน
ดิฉันเคยเตือนไว้แล้วเมื่อปลายเดือน
ธ.ค. ว่า คุณจะต้องมีทางเลือก อย่าแทงม้าตัวเดียว
แถมยังเป็นม้าที่ยังไม่เคยลงสนามแข่ง ดิฉันบอกได้เลยว่ามันยาก! คุณบอกว่าจะได้ในเดือน
พ.ค. ขออภัย...เตรียมไว้เถอะ...มันไม่ง่าย
เพราะแม้กระทั่งในยุโรปเขาก็ยังทำไม่ได้เพียงพอ
ตอนนี้ที่คุณบอกว่าจะเอามาจากอิตาลี
ดิฉันไม่แน่ใจว่าสหภาพยุโรปเขาจะแบนไว้หรือเปล่า เพราะตอนนี้ข่าวของสหภาพยุโรปเขาก็มีการโจมตีว่ายังไม่ได้ตามที่ต้องการ
และมีการต่อว่าประธานของแอสตร้าเซนเนก้าว่า ทำไมอังกฤษได้เยอะ ทำไมยุโรปยังไม่ได้
ฉะนั้นประธานของแอสตร้าเซนเนก้าก็ต้องมาอธิบายว่าอังกฤษเขาไปทำข้อตกลงไว้ก่อนสหภาพยุโรป
3 เดือน และบริษัทที่ผลิตในอังกฤษนั้นผลิตได้ดี
ในขณะที่บริษัทที่ผลิตในสหภาพยุโรปผลิตวัคซีนได้ต่ำกว่า ดูเหมือนจะ 3 เท่า
หรืออย่างไร
ดังนั้น
โอกาสที่เราจะไปหวังพึ่งว่าจะได้จากสหภาพยุโรป ดิฉันไม่แน่ใจว่าจะได้จริงหรือเปล่า
หรือมิฉะนั้นเขาก็แบ่งมาแบบนิดหน่อย จำนวนน้อย ๆ เพื่อให้เราสร้างภาพหรือปลอบใจ
หรือเปล่า? คุณหวังจากประเทศในสหภาพยุโรปก็ยาก
แต่ขณะนี้อินเดียส่งให้พม่าแล้ว
2 ล้านโดส (แอสตร้าเซนเนก้า) พม่าฉีดแล้ว!
ลาวก็ฉีดแล้ว! ไปดูภาพซะ
(ลาวนั้นรัสเซียส่ง Sputnik V ให้)
มีข่าวจาก
Thai
Enquirer บอกว่าอินเดียต้องการจะส่งให้ไทย แต่ไทยไม่เอา
จริงหรือเปล่า? ดิฉันอยากจะถาม คุณแทงม้าตัวเดียวซึ่งยังไม่เคยลงสนามแข่งเลย
แต่บริษัทของอินเดียนั้นเขาเซียนนะ เขามีประวัติศาสตร์ในการทำวัคซีน เขาไม่ใช่เป็นม้าที่ไม่เคยลงสนาม
แล้วต้องยอมรับว่าความสามารถทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและทางคณิตศาสตร์ของอินเดียเขาเก่ง
และนั่นเป็นสถาบันแห่งชาติของอินเดีย เพราะฉะนั้นตอนนี้จะต้องไปฉีดวัคซีนที่พม่ากับลาวหรือเปล่า?
อ.ธิดากล่าวต่อไปว่า
ขณะนี้ไทยอยู่ในสภาพที่เลื่อนลอยมาก ความคิดจารีตนิยมในเบื้องต้นที่ดิฉันบอกก็คือ
คุณให้ความสำคัญกับประชาชนทั้งหมดมั้ย? เพียงแต่คุณคิด (อันนี้กระทรวงสาธารณสุขวางแผนร่วมกับรัฐบาล)
ว่าจะฉีด 50% ใน 3 ปี ผิดแล้วค่ะ 3 ปีนี้ถ้าหากคุณคุมไม่อยู่
ไม่รู้คนตายไปเท่าไหร่แล้ว นอกจากนี้ยังมีปัญหาเศรษฐกิจ ถามว่า 3
ปีนี้คนจะอยู่กันอย่างไร คุณจะให้แจกข้าวกัน 3 ปีหรือ
คุณจะให้เกิดปัญหาว่าร้านค้าก็เปิดไม่ได้ โรงเรียนก็เปิดไม่ได้ คนทำมาหากินไม่ได้
3 ปี ฉีดได้แค่ครึ่งเดียว แล้วยังไม่รู้ด้วยว่าคุณจะไปเอาวัคซีนมาจากไหน
มันเริ่มต้นด้วยความคิดจารีตนิยมหรือเปล่าที่ว่าไม่เห็นความสำคัญในการที่จะเซฟประชาชน
เมื่อมองไม่เห็นความสำคัญในการเซฟประชาชน ผลมันจะย้อนมาถึงตัวเอง
นอกจากไม่เห็นความสำคัญของประชาชนที่ควรจะต้องฉีดอย่างต่ำ
80% (ไม่ต้องเอาแบบสิงคโปร์ก็ได้ เอาแบบมาเลเซีย) คุณจะต้องมีประมาณ 120
ล้านโดส (ตีว่า 60 ล้านคน ฉีดคนละ 2 โดส) ตามหลักการคุณจะฉีดอย่างไร
อย่างอิสราเอลเขาทำไปเกินครึ่งแล้วภายในเวลาดูเหมือนประมาณเดือนเดียว
อิสราเอลเขาเห็นความสำคัญของชีวิตคน เขายอมทุ่ม ซื้อแพง
เขาไม่อ้างแบบประเทศไทยว่าเราต้องซื้อถูก ๆ และเอาที่คนของเราทำได้
เพราะชีวิตประชาชนสำคัญกว่าราคาวัคซีน
ดังนั้น
เขาฉีดไปเกือบหมดแล้วนะ ยอมซื้อแพงเพื่อที่จะให้ไฟเซอร์ขายให้เขา
แล้วอังกฤษก็ไปติดต่อแอสตร้าเซนเนก้าเพราะออกซ์ฟอร์ดเขาเป็นผู้วิจัยก่อนสหภาพยุโรป
นี่คือประเทศที่จริง ๆ เขาเป็นประเทศที่มีความคิดจารีตนิยมนะ
แต่ว่าจารีตนิยมของเขายังไม่ขนาดบางประเทศ ก็คือชีวิตคนทั้งหมดไม่ว่าคนจน คนรวย คนมีความคิดต่างหรือเปล่า
ก็ต้องเซฟประชาชนเอาไว้ก่อน
ความคิดจารีตนิยมประการที่สองคืออะไร
จะคิดว่า “ชาตินิยม” บวก “จารีตนิยม” ก็ได้ แต่เป็นจารีตนิยมแบบที่ว่าอยากจะให้ใช้วัคซีนที่ผลิตได้ในประเทศไทย
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ “สยามไบโอไซเอนซ์” เป็นบริษัทที่ดิฉันยอมรับว่ายิ่งใหญ่ในแง่ที่ว่าเป็นบริษัทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
แต่ว่าไม่เคยทำวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนไวรัส ดิฉันจะบอกให้ว่ามันยากลำบากมาก
การเลี้ยงวัคซีน การผลิตวัคซีนต้องผลิตอยู่ในเนื้อเยื่อ เราเริ่มต้นเขาเรียกว่าเป็น
SEK 293 cells
ก็คือเป็น human embryonic kidney cells ไม่ใช่ไตลิงด้วยนะ
จากไตคน
ดิฉันเคยอยู่กับแลปไวรัส
(ในช่วงทำงานวิจัยปริญญาโท) รู้เลยว่าการเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture) เลี้ยงยากมาก ดิฉันไม่แน่ใจว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยทำให้การเลี้ยงเนื้อเยื่อในปริมาณมาก
ๆ จากนั้นก็ต้องใส่ไวรัสเข้าไป เลี้ยงเนื้อเยี่อต้องมีชีวิต แล้วทำให้ไวรัสเข้าไปอยู่ในเซลที่มีชีวิตอยู่ได้
มันไม่ง่าย! แม้ว่าเขาจะถ่ายทอดเทคโนโลยี
ขณะนี้เกิดปัญหาขึ้นแล้วก็คือบริษัทที่ผลิตในสหภาพยุโรปไม่สามารถทำได้ตามเป้า
และเป็นไปได้ว่าก่อนที่เขาจะส่งวัคซีนให้ประเทศอื่นต้องส่งให้สหภาพยุโรปก่อน
ดังที่ดิฉันพูดไว้ อ.ธิดากล่าว
ถ้าว่าไป
“สยามไบโอไซเอนซ์” ก็คือบริษัทที่รับจ้างผลิตให้แอสตร้าเซนเนก้า
แล้วแอสตร้าเซนเนก้าก็บอกว่า “ไม่ให้เอากำไร แต่ไม่ให้ขาดทุน” (no profit on loss) ดังนั้นจึงทำให้ต้นทุนของเราสูงกว่า (ประมาณ 5 เหรียญต่อโดส) ในขณะที่ที่อื่นอาจจะเป็น
2 เหรียญกว่า
ที่ดิฉันพูดถึงว่าจารีตนิยมประการที่หนึ่งคืออาจจะให้ค่าประชาชนน้อยเกินไปหรือเปล่า
จึงมุ่งที่จะเป็นฝ่ายรับ ลังเล ชักช้า และไม่ต้องการที่จะเซฟได้จริง
เป็นฝ่ายรับที่นอกจากไม่รุกแล้ว ถ้าในทัศนะของกระทรวงสาธารณสุข
ถ้าเราไม่ว่าเขาจารีตนิยมสุดกู่ก็คือประมาท ไม่เห็นหัวประชาชนมากพอว่าคุณต้องฉีด
80% เป็นอย่างต่ำ ทีนี้คุณเอา 50%
แล้วคุณไม่ได้เตรียมพร้อมในการที่จะมีม้าหลายตัว
คือถ้าคุณรักประชาชนนะ
คุณต้องมีหลักประกันว่างานนี้พลาดไม่ได้ คุณแทงม้าตัวเดียว
เป็นม้าที่ไม่เคยผ่านศึกวัคซีน แล้วมันไม่ง่าย ไม่ใช่สารเคมีนะ
ว่าเขาให้หัวเชื้อมา ใส่สารเคมีอันที่ 1, อันที่ 2, อันที่ 3 แล้วก็เอามาฉีด
มันไม่ง่ายขนาดนั้น แล้วมันต้องเป็นม้าที่เคยผ่านสนามแบบนี้
ทีนี้คุณสนับสนุน
“สยามไบโอไซเอนซ์” ปัญหาที่มีคนตั้งข้อสังเกตแล้วคุณกลับไปฟ้องร้องเขา ม.112
ยกตัวอย่างเช่น คำถามของคุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถามว่าทำไมไปเล่นงาน เพราะว่า “สยามไบโอไซเอนซ์”
เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แต่ก็เป็นบริษัทเอกชน
เมื่อเขาตั้งคำถาม “สยามไบโอไซเอนซ์” แล้วคุณไปเอา ม.112 มันคิดยังไง?
ที่เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 64 รมว.ดิจิตัลมอบหมายให้ผู้ช่วยไปแจ้งความข้อหา ม.112 และ
พ.ร.บ.คอมฯ กรณีเชื่อมโยงกับบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ดิฉันคิดว่าเป็นอันหนึ่งในการใช้
ม.112 ที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
ถ้าเราเอากรอบความคิดว่าทุกคนรักประชาชน
ทำอย่างไรให้ที่ดีสุดสำหรับประชาชน
แต่ถ้าคุณเป็นจารีตนิยมคุณก็บอกว่าบริษัทนี้แหละบริษัทเดียว
ทีนี้คนอื่นเขาตั้งคำถามว่าทำไมคุณไม่ให้บริษัทอื่นบ้าง หรือว่ามีแผนที่แน่นอน
ยกตัวอย่างขณะนี้การที่คุณบอกว่าคุณจะไปเอา COVAC จาก WHO คุณเพียงแต่แจ้งความประสงค์ไปแค่นั้นเอง
แต่คุณไม่ได้ไปลงลึกในการขอวัคซีนมาเลย เพราะฉะนั้น วัคซีนที่คุณจะได้ 26 ล้านโดส
และที่จะเริ่มได้ตั้งแต่เดือน พ.ค. ดิฉันตอบได้เลยว่าไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้!
แล้วคุณจะทำยังไง?
ที่อื่นคุณก็ไม่ไปเซ็น
เพราะความคิดที่ว่าต้องบริษัทนี้เท่านั้น เป็นทางเลือกเดียวที่ดีที่สุด
แต่คุณไม่ได้คิดว่าเป็นวิกฤต ฉะนั้น จารีตนิยมที่ไม่เห็นหัวประชาชนทั้งส่วนใหญ่
และจารีตนิยมในการที่คุณเลือกม้าตัวเดียว
แล้วบังเอิญไปเกี่ยวข้องกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ใครตั้งคำถามก็ไม่ได้!
ก็โดนมาตรา 112
ดิฉันจึงใช้คำว่า
มันไม่ใช่ชาตินิยมเท่านั้นที่บอกว่าอยากจะให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต
แต่มันเป็นจารีตนิยมด้วย คนก็ตั้งคำถามได้ว่ามันมีความเกรงกลัวหรือมีการใช้อิทธิพล
หรือไม่มีการใช้อิทธิพลแต่ว่าด้วยความที่คลุมเครือระหว่างอำนาจของประชาชนกับอำนาจเหนือรัฐ
จึงทำให้เกิดการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสมและจะกลายเป็นทางตัน
ก็คือคุณไม่ได้วัคซีนทันเวลา คุณไม่ได้วัคซีนครอบคลุมประชาชน (เกิน 80%)
แล้วคุณไม่รู้จะไปเอาวัคซีนมาจากไหน ในขณะที่เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า “สยามไบโอไซเอนซ์”
ไม่สามารถผลิตได้มากและทันเวลา
นี่คือทางตันของวัคซีนและปัญหาของสาธารณสุขไทย ถ้าหากว่าอำนาจประชาชนและความเกรงกลัวหรือความรักประชาชนน้อยเกินไปสำหรับอำนาจนำที่เป็นพวกจารีตนิยม อ.ธิดากล่าวในที่สุด