บทบรรยาย "ยุทธการยิงนกในกรง"
(เหตุการณ์หลัง
10 เมษายน 2553 – 20 พฤษภาคม 2553)
หลังเหตุความรุนแรงในเหตุการณ์วันที่
10 เมษายน 2553 ยุติลง และมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ความชอบธรรมในการบริหารประเทศของรัฐบาบอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ดูเหมือนว่าจะหมดลง เพราะการใช้กำลังในการปราบปรามประชาชนผู้บริสุทธิ์ และการกระทำการอันรุนแรง จนทำให้เกิดความสูญเสียทั้งฝ่ายประชาชนและฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ
แทนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์จะแสดงความรับผิดชอบในครั้งนั้น รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ใช้วาทกรรม
“ชายชุดดำและกองกำลังติดอาวุธ” เป็นการแก้ปัญหา
และเหมือนว่าความพยายามในการอยู่ในอำนาจของเผด็จการอำมาตย์อย่างได้ผล
เพราะจากการที่ได้รับข้อมูลบางอย่างจากภาพถ่ายคลิปวีดีโอสั้น ๆ
ที่ซื้อมาจากช่างภาพไม่ปรากฏนามจากสำนักข่าวอัลจาชีรา ที่นำเสนอภาพชายชุดดำได้ในเงาลาง ๆ ซึ่งน่าสังเกตว่า มีสำนักข่าวนี้สำนักเดียวนำมาแสดง
และนั่นเป็นข้ออ้างที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้เพื่ออยู่ในอำนาจต่อไป
และรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็มีนโยบายที่ชัดเจนในการใช้การทหารเป็นกลไกหลักของการแก้ปัญหาทางการเมืองครั้งนี้
และเมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้มีนโยบายที่ชัดเจนมากขึ้นในการกระชับวงล้อมพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์
โดยสั่งการมายังกองทัพของรัฐบาลอภิสิทธิ์และเป็นที่มาของความรุนแรงของการปฏิบัติการในยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ชุมนุม
อ้างอิงจากบทความเรื่อง “บทเรียนยุทธการกระชับวงล้อม พื้นที่ราชประสงค์ 14-19
พฤษภาคม พ.ศ. 2553” จากวารสารเสนาธิปัตย์ ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม
2553” ซึ่งเขียนขึ้นโดยนายทหารในกองทัพ
โดยเหตุผลของการเขียนบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการทางทหารกรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง ซึ่งเป็นดำริของเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก พล.ท.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ซึ่งบทความนี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นข้อสรุปที่ภาคภูมิใจของกองทัพจากการปฏิบัติภารกิจที่เกิดขึ้นจริงของทหาร ในการใช้ความรุนแรงเพื่อฆ่าประชาชนในเดือนพฤษภาคม
2553
วารสารเสนาธิปัตย์ ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2553 |
ถ้าหากว่าความสำเร็จที่ทหารได้มาในครั้งนี้เป็นความสำเร็จด้วยการรบระหว่างทหารกับทหารแล้ว อาจจะถือว่าเป็นชัยชนะ แต่เมื่อยุทธการนี้ใช้กับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่เพียงแค่ต้องการให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยุบสภาแล้วลาออก คืนอำนาจให้กับประชาชน พร้อมรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของคนเสื้อแดง จึงเป็นคำถามของคนทั่วโลกว่าน่าภูมิใจหรือไม่? และควรหรือไม่ที่ใช้ยุทธศาสตร์ทางการทหารแทนที่จะใช้ยุทธศาสตร์ทางการเมืองในการแก้ปัญหา
หลังเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนผ่านไป
ทางด้านฟากฝั่งของทหารหลังจากเหตุการณ์นั้นก็ได้เก็บตัวอย่างเงียบเชียบ ไม่มีปฏิบัติการใด ๆ ออกมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
และได้อาศัยช่วงเวลานั้นทำการประชุมอย่างเร่งด่วนเพื่อสรุปผลของยุทธการขอคืนพื้นที่ในวันที่
10 เมษา 53 และระดมความคิดเห็นเพื่อหายุทธวิธีในการซักซ้อมและปราบปรามประชาชนอย่างเคร่งเครียด
ซึ่งก็พบจุดอ่อนหลายจุดจากความพ่ายแพ้ในครั้งนั้น
รวมถึงพบยุทธวิธีที่ประสบความสำเร็จในเหตุการณ์ครั้งนั้น
การใช้พลซุ่มยิงและหน่วยสไนเปอร์เป็นยุทธวิธีที่ดีที่สุด และได้เริ่มทำการฝึกฝนควบคู่ไปกับการซ้อมยุทธวิธีต่าง ๆ อย่างหนักภายในค่ายทหาร ในขณะที่คนเสื้อแดงยังชุมนุมและร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน เพราะไม่คิดว่าทหารจะกล้าใช้มาตรการอันโหดเหี้ยมกับประชาชน และเมื่อแผนการและขั้นตอนต่าง ๆ ได้ถูกวางแผนเสร็จสิ้น การดำเนินการต่าง ๆ ก็เริ่มขึ้นโดยทหารใช้ชื่อแผนยุทธการนี้ว่า “ยุทธการกระชับวงล้อม – พื้นที่ราชประสงค์” โดยปฏิบัติภารกิจนี้มี 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
ยุทธการกระชับวงล้อม – ราชประสงค์ – ขั้นปฏิบัติการขั้นที่ 1
ภาพพลแม่นปืนหรือสไนเปอร์ เมื่อ 17 พ.ค. บริเวณถนนพระราม 4 ใกล้กับสนามมวยลุมพินี |
การใช้พลซุ่มยิงและหน่วยสไนเปอร์เป็นยุทธวิธีที่ดีที่สุด และได้เริ่มทำการฝึกฝนควบคู่ไปกับการซ้อมยุทธวิธีต่าง ๆ อย่างหนักภายในค่ายทหาร ในขณะที่คนเสื้อแดงยังชุมนุมและร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน เพราะไม่คิดว่าทหารจะกล้าใช้มาตรการอันโหดเหี้ยมกับประชาชน และเมื่อแผนการและขั้นตอนต่าง ๆ ได้ถูกวางแผนเสร็จสิ้น การดำเนินการต่าง ๆ ก็เริ่มขึ้นโดยทหารใช้ชื่อแผนยุทธการนี้ว่า “ยุทธการกระชับวงล้อม – พื้นที่ราชประสงค์” โดยปฏิบัติภารกิจนี้มี 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
15 พ.ค. 53 เจ้าหน้าทหารกับป้าย "พื้นที่การใช้กระสุนจริง Life Firing Zone" ที่บริเวณแยกราชปรารภ |
ยุทธการกระชับวงล้อม – ราชประสงค์ – ขั้นปฏิบัติการขั้นที่ 1
ยุทธการขั้นที่ 1 เริ่มต้นในวันที่ 14
พฤษภาคม 2553 แต่ในความเป็นจริง ปฏิบัติการยุทธการกระชับวงล้อมของรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่
12 พฤษภาคม 2553 เพราะนายอภิสิทธิ์ได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ.
ให้ฝ่ายทหารเริ่มปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ เพื่อยุติการชุมนุม จนมาถึงวันที่ 13
พฤษภาคม 2553 ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความรุนแรงฉบับที่ 2
จากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์
โดยเริ่มมาตรการระงับบริการสาธารณะและปิดล้อมแยกราชประสงค์อย่างสมบูรณ์ และชี้แจงมาตรการจากเบาไปหาหนัก และรวมถึงการใช้กระสุนจริงในการปราบปรามประชาชนด้วย
7 ชั่วโมงเศษหลังจากการแถลงของ ศอฉ. ความสูญเสียศพแรกของยุทธการกระชับวงล้อมจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็เริ่มขึ้น นั่นคือ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ซึ่งถูกยิงด้วยสไนเปอร์ขณะกำลังให้สัมภาษณ์กับนักข่าว กระสุนพุ่งเข้าใส่หน้าผากขวาของเสธ.แดงกดทะลุท้ายทอย ซึ่งก็ยืนยันได้ว่าถูกยิงจากที่สูง ซึ่งนั่นก็หมายถึงหน่วยสไนเปอร์ของกองกำลังทหารนั่นเอง การตายของเสธ.แดงนั้น ในยุทธศาสตร์ของทหารได้ให้ความสำคัญว่า เสธ.แดงเป็นตัวจักรสำคัญทางด้านการวางแผน การดูแลรักษาความปลอดภัยของผู้ชุมนุมเสื้อแดง การปลิดชีพเสธ.แดงได้นั้น ทหารถือว่าเป็นการโค่นผู้นำทางทหารของคนเสื้อแดง รายละเอียดการเสียชีวิตของเสธ.แดงนั้นระบุว่า ขณะที่ เสธ.แดง กำลังเดินตรวจแนวการ์ดนปช. บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เขาถูกซักถามโดยนักข่าว โดยในเวลานั้นมีนักข่าวหรือช่างภาพไม่ทราบสังกัดคนหนึ่งเปิดไฟแฟลชเป็นระยะ ราวกับกำลังชี้เป้าให้มือสังหาร และมีการหน่วงเหนี่ยว เสธ.แดง ด้วยการพูดคุยนานจนผิดปกติ โดยกระสุนที่สังหาร เสธ.แดง นั้น เป็นกระสุนยี่ห้อลาปัว ขนาด.308 จากอาวุธปืนไรเฟิลแรงสูงเข้าที่ศีรษะและบริเวณเสื้อเกราะที่หน้าอกอีก 1 นัด และเสียชีวิตด้วยอาการไตวายในวันที่ 17 พฤษภาคม 2553
หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันศุกร์ที่ 14 พ.ค. 53 |
7 ชั่วโมงเศษหลังจากการแถลงของ ศอฉ. ความสูญเสียศพแรกของยุทธการกระชับวงล้อมจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็เริ่มขึ้น นั่นคือ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ซึ่งถูกยิงด้วยสไนเปอร์ขณะกำลังให้สัมภาษณ์กับนักข่าว กระสุนพุ่งเข้าใส่หน้าผากขวาของเสธ.แดงกดทะลุท้ายทอย ซึ่งก็ยืนยันได้ว่าถูกยิงจากที่สูง ซึ่งนั่นก็หมายถึงหน่วยสไนเปอร์ของกองกำลังทหารนั่นเอง การตายของเสธ.แดงนั้น ในยุทธศาสตร์ของทหารได้ให้ความสำคัญว่า เสธ.แดงเป็นตัวจักรสำคัญทางด้านการวางแผน การดูแลรักษาความปลอดภัยของผู้ชุมนุมเสื้อแดง การปลิดชีพเสธ.แดงได้นั้น ทหารถือว่าเป็นการโค่นผู้นำทางทหารของคนเสื้อแดง รายละเอียดการเสียชีวิตของเสธ.แดงนั้นระบุว่า ขณะที่ เสธ.แดง กำลังเดินตรวจแนวการ์ดนปช. บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เขาถูกซักถามโดยนักข่าว โดยในเวลานั้นมีนักข่าวหรือช่างภาพไม่ทราบสังกัดคนหนึ่งเปิดไฟแฟลชเป็นระยะ ราวกับกำลังชี้เป้าให้มือสังหาร และมีการหน่วงเหนี่ยว เสธ.แดง ด้วยการพูดคุยนานจนผิดปกติ โดยกระสุนที่สังหาร เสธ.แดง นั้น เป็นกระสุนยี่ห้อลาปัว ขนาด.308 จากอาวุธปืนไรเฟิลแรงสูงเข้าที่ศีรษะและบริเวณเสื้อเกราะที่หน้าอกอีก 1 นัด และเสียชีวิตด้วยอาการไตวายในวันที่ 17 พฤษภาคม 2553
ข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 14 พ.ค. 53 |
นอกจากการตายของ เสธ.แดง แล้ว อีก 1 ศพของวีรชนคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตจากยุทธการกระชับวงล้อมของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์คือ นายชาติชาย ชาเหลา ในเวลา 22.50 น. บริเวณปากซอยศาลาแดง 1 ซึ่งถูกกระสุนปืนยิงเข้าที่ศีรษะ สมองฉีกขาด กะโหลกแตกเป็นเสี่ยง ๆ ซึ่งนับว่าเป็นการแสดงถึงความโหดร้ายของปฏิบัติการนี้ตั้งแต่เริ่มต้น
14 พฤษภาคม
2553
ปฏิบัติการทางทหารอย่างเต็มรูปแบบนั้นเริ่มต้นเช้าวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ปฏิบัติการขั้นต้นนี้เริ่มต้นขึ้นในช่วงเช้าเวลาประมาณ 09.20 น. ทหารสั่งการให้ผู้ชุมนุมออกจากถนนพระราม 4
แต่ถูกผู้ชุมนุมตั้งแนวรับเอาไว้จนถึงเวลาประมาณ 14.00 น. ถึง 15.00 น.
การเสียชีวิตของผู้ชุมนุมบริเวณสวนลุมพินีก็เริ่มขึ้น นายประจวบ ศิลาพันธ์ ถูกกระสุนปืนยิงทะลุหัวใจ และต่อมาก็มีผู้เสียชีวิตอีก
1 รายในช่วงเวลาใกล้เคียงกันคือ นายปิยะพงษ์ กิติวงศ์ ถูกกระสุนปืนยิงเข้าที่บริเวณคอภายในสวนลุมฯ
ซึ่งสถานการณ์นี้มีผู้บาดเจ็บซึ่งเป็นสื่อมวลชนรวมอยู่ด้วย 4 คน และมี 2 คน
หนึ่งคนเป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน และอีกคนเป็นผู้รายงานข่าวชาวแคนาดา
ช่อง France24 และอีก 1 ศพจากการกระทำขั้นรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐที่สวนลุมฯ
ตรงบริเวณลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 คือ นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์
ซึ่งถูกกระสุนปืนยิงเข้าที่หัว ทำลายสมอง
ความตายย่านบ่อนไก่ 14 พฤษภาคม 2553
ทหารเคลื่อนกำลังตามแนวถนนพระราม 4 มุ่งหน้าบ่อนไก่ |
ความตายย่านบ่อนไก่ 14 พฤษภาคม 2553
ย่านบ่อนไก่นับเป็นจุดวิกฤตที่สุดของปฏิบัติการอันเลวร้ายของทหาร
เพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ตรงกลางระหว่างผู้ชุมนุมกับทหาร เสียงกระสุนจากทหารนั้นนับว่าได้ยินอยู่เกือบตลอดเวลา การปฏิบัติการของทหารบริเวณนี้เป็นปฏิบัติการทางการทหารเต็มรูปแบบ เสมือนทำสงครามรบในเมือง มีการใช้กำลังถึง 3 กองพล มีคำสั่งการใช้กระสุนจริง ซึ่งทหารถือเอาบทเรียนความพ่ายแพ้ในวันที่ 10 เมษายนมาเป็นบทสรุป และคำสั่งการใช้กระสุนจริงซึ่งเขาเชื่อว่าจะทำให้ทหารเชื่อมั่น มีจิตใจรุกรบมากขึ้น ซึ่งก็นับว่าได้ผลตามต้องการ เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมตกอยู่ในสภาพเหมือนนกในกรง และผลของปฏิบัติการในย่านบ่อนไก่ของวันที่ 14 พฤษภาคมนี้
ทำให้ผู้ชุมนุมสูญเสียชีวิตไป 4 คน ดังนี้
1) นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง เสียชีวิตจากการถูกยิง
2 นัดเข้ากลางหลังและหัวไหล่ เวลาประมาณ 12.30 น.
2) นายอินแปลง เทศวงศ์
ถูกกระสุนบริเวณหน้าอกทะลุปอด เวลาประมาณ 13.30 น. ถึง 14.00 น.
3) นายบุญมี เริ่มสุข
ถูกยิงบริเวณช่องท้อง เวลาประมาณ 16.00 น.
4) นายเสน่ห์ นิลเหลือง ถูกยิงหน้าอกทะลุเส้นเลือด
เวลาประมาณ 17.30 น.
นี่คือผลของปฏิบัติการเต็มรูปแบบเพื่อเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ที่เปรียบเสมือนนกในกรง ซึ่งทางทหารจะชี้เป้ายิงใครก็ได้ โดยจากพยานหลักฐานภาพวีดีโอและภาพถ่ายที่มีก็สรุปได้ว่า ทั้ง 4 ราย เสียชีวิตจากการปฏิบัติการทางทหารด้วยกระสุนจริงจากเจ้าหน้าที่อย่างแน่นอน
ภาพ "ลุงคิม" หรือ นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง หลังถูกยิง และรักษาตัวที่โรงพยาบาล |
นี่คือผลของปฏิบัติการเต็มรูปแบบเพื่อเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ที่เปรียบเสมือนนกในกรง ซึ่งทางทหารจะชี้เป้ายิงใครก็ได้ โดยจากพยานหลักฐานภาพวีดีโอและภาพถ่ายที่มีก็สรุปได้ว่า ทั้ง 4 ราย เสียชีวิตจากการปฏิบัติการทางทหารด้วยกระสุนจริงจากเจ้าหน้าที่อย่างแน่นอน
ความตายที่ย่านราชปรารภ
ที่ราชปรารภก็นับว่าเป็นอีกบริเวณที่มีการบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก ด้วยพื้นที่แถบนี้เป็นบริเวณที่มีตึกสูง เป็นย่านการค้าการลงทุน รายล้อมด้วยชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ของหน่วยสไนเปอร์และหน่วยพลซุ่มยิงที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างเชี่ยวชาญในการฆ่าจนเกิดการเสียชีวิตในย่านราชปรารภในวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 มีดังนี้
1) นายชัยยันต์ วรรณจักร
เสียชีวิตก่อนเวลา 18.30 น. ถูกยิงช่องท้องด้านขวา
2) นายทิพเนตร เจียมพล เสียชีวิตเวลา
17.30 น. ถูกยิงที่บริเวณหัวไหล่
3) นายบุญทิ้ง ปานศิลา
เสียชีวิตเวลาประมาณ 19.36 น. จากบาดแผลที่คอ
4) นายกิติพันธ์ ขันทอง
เสียชีวิตเวลาประมาณ 19.30 น. จากการถูกกระสุนปืนบริเวณท้อง
5) นายสรไกร ศรีเมืองปุน
เสียชีวิตเวลาประมาณ 23.00 น. ถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงที่หัว
6) นายเหิน อ่อนสา เสียชีวิตเวลาประมาณ
23.00 น. จากการถูกยิงบริเวณขาหนีบ
7) นายธันวา วงศ์ศิริ
เสียชีวิตเวลาประมาณ 19.30 น. จากการถูกยิงบริเวณหน้าข้างซ้าย
นอกจากนี้บริเวณแยกราชปรารภในวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ก็ยังมีการเสียชีวิตอีก 4 รายคือ
ภาพบริเวณที่เกิดการเสียชีวิตของ นายสมาพันธ์ ศรีเทพ หรือ “น้องเฌอ”, ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือ "น้องอีซา" และ น.ส.กมลเกด อัคฮาด หรือน้องเกด |
นอกจากนี้บริเวณแยกราชปรารภในวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ก็ยังมีการเสียชีวิตอีก 4 รายคือ
1) น.ส.สัญธะนา สรรพศรี
เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.20 น. จากการถูกยิงที่คอ
2) นายมนูญ ท่าลาด เสียชีวิตเวลาประมาณ
20.20 น. จากการถูกยิงที่หัว
3) นายพัน คำกอง
เสียชีวิตเวลาประมาณเที่ยงคืน จากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง
4) ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ
เสียชีวิตเวลาประมาณเที่ยงคืน จากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง
ซึ่งนับว่าเป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุน้อยที่สุดเพียง 14 ปี
นับเป็นสิ่งที่ประจักษ์ให้เห็นไปทั่วทุกมุมโลกถึงความโหดร้ายของรัฐบาลอภิสิทธิ์
ที่สามารถฆ่าได้แม้กระทั่งเด็ก, ผู้หญิง หรือแม้แต่อาสาสมัครพยาบาล
ยุทธการกระชับวงล้อม – ราชประสงค์ – ขั้นปฏิบัติการขั้นที่ 2
ปฏิบัติการขั้นที่ 2
ขั้นการวางกำลังตรึงพื้นที่รอบนอกเพื่อป้องกันการเติมคนของผู้ชุมนุม นปช. ขั้นตอนนี้ในรายงานระบุว่าใช้เวลา 4 วัน คือตั้งแต่วันที่ 15 – 18 พฤษภาคม ปฏิบัติการของทหารได้กระทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนทั่วไปซึ่งไม่ได้เป็นผู้ชุมนุมรวมอยู่ด้วย ยังผลให้ประชาชนได้รู้ได้เห็นและเกิดความไม่พอใจในการกระทำของเจ้าหน้าที่ และได้มีการออกมาชุมนุมกันมากขึ้นเรื่อย ๆ
ปฏิบัติการของทหารในขั้นตอนที่ 2 นี้ถือว่าเป็นปฏิบัติการที่โหดร้ายแบบเต็มรูปแบบ มีการใช้ความป่าเถื่อนของเผด็จการในการเข่นฆ่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงหลายชีวิตในหลายพื้นที่ดังต่อไปนี้
บริเวณบ่อนไก่
วันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ผู้เสียชีวิตได้แก่
1) นายมานะ แสนประเสริฐศรี เสียชีวิตจากการถูกยิงที่หัว เวลาประมาณ 14.00 – 15.00 น.
2) นายพรสวรรค์ นาคะไชย เสียชีวิตเพราะถูกยิงที่ท้อง เวลาประมาณ 14.00 – 15.00 น.
3) นายวารินทร์ วงศ์สนิท ถูกยิงบริเวณหน้าอก เวลาประมาณ 14.00 – 15.00 น.
4) นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง ถูกยิงเส้นเลือดแดงใหญ่ทะลุ เวลาประมาณ 14.00 – 15.00 น.
นอกจากย่านบ่อนไก่บริเวณศาลาแดงก็มีการเสียชีวิต นั่นคือ นายวงศกร แปลงศรี ซึ่งถูกยิงด้วยปืน ทำลายขั้วปอดเสียชีวิต
ย่านบ่อนไก่ก็ยังถือว่าเป็นสมรภูมิของการสังหารประชาชนทั่วไป เพราะในวันที่ 16
พฤษภาคม 2553 ในย่านนี้ยังมีผู้เสียชีวิตอีก 7 ราย ซึ่งมีรายนามดังนี้
1) นายสมชาย พระสุพรรณ เวลาประมาณ 09.30
น. ถูกยิงที่หัว
2) นายสุพรรณ์ ทุมทอง เวลาประมาณ
10.00-10.30 น. ถูกยิงที่หัว
3) นายวุฒิชัย วราคัม เวลาประมาณ
14.140-14.41 น. ถูกยิงที่บริเวณหลัง
4) นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์ เวลาประมาณ
14.00-16.00 น. ถูกยิงที่บริเวณท้อง
5) นายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสุกล เวลาประมาณ 15.00-15.30 น. เสียชีวิตเพราะเสียเลือดมากหลังจากการถูกยิง
6) นายประจวบ ประจวบสุข เวลาประมาณ
15.00-15.30 น. เสียชีวิตเพราะเสียเลือดมากหลังจากการถูกยิง
7) นายสมัย ทัดแก้ว เสียชีวิตจากการรักษาหลังถูกยิงบริเวณหลังลำไส้ทะลุไขสันหลัง
นอกจากย่านบ่อนไก่ซึ่งเป็นพื้นที่การฆ่าของเจ้าหน้าที่ทหาร บริเวณสวนลุมพินี ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 ก็มีการตายเกิดขึ้น นั่นคือการตายของนายสุพจน์ ยะทิมา ซึ่งได้ถูกกระสุนปืนจากทหารยิงเข้าที่หัว
เสียชีวิตในช่วงค่ำของวันนั้น
การสูญเสียชีวิตในย่านราชปรารภในวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ทั้งผู้ชุมนุมและผู้บริสุทธิ์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม กับอีก 6 รายของยุทธการกระชับวงล้อมของทหาร ซึ่งมีรายนามดังนี้
การสูญเสียชีวิตในย่านราชปรารภในวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ทั้งผู้ชุมนุมและผู้บริสุทธิ์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม กับอีก 6 รายของยุทธการกระชับวงล้อมของทหาร ซึ่งมีรายนามดังนี้
1) นายสมาพันธ์ ศรีเทพ เสียชีวิตเวลาประมาณ 08.30 น. จากการถูกยิงที่หัว
2) นายสุภชีพ จุลทรรศน์ เสียชีวิตเวลาประมาณ 08.30 น. จากการถูกกระสุนปืนความเร็วสูงที่หัว
3) นายอำพล ชื่นสี เสียชีวิตเวลาประมาณ
08.30 น. ถูกยิงช่องท้อง
4) นายชาญณรงค์ พลศรีลา เสียชีวิตเวลา
15.50 น. ถูกยิงที่ท้อง
5) นายอุทัย อรอินทร์ เสียชีวิตเวลา
15.00 น. ถูกยิงหลังทะลุเข้าหัวใจ
6) นายธนากร ปิยะผลดิเรก เสียชีวิตเวลา
16.30 น. ถูกยิงบริเวณหน้าแก้มขวา
นี่คือ 6
ศพจากปฏิบัติการย่านราชปรารภวันที่ 15 พฤษภาคม 2553
ด้วยปฏิบัติการทางทหารอย่างเต็มรูปแบบ โดยไม่สนใจแก้ปัญหาการเมือง
บริเวณซอยรางน้ำ ย่านราชปรารถ ในวันที่
17 พฤษภาคม 2553 ก็มีการตายเกิดขึ้นอีก 2 ราย นั่นคือ
1) นายเยื้อน โพธิ์ทองคำ เวลาประมาณ
21.00 น. ถูกยิงทะลุผ่านลำไส้ใหญ่ และ
2) นายสมพาน หลวงชม เวลาประมาณ 22.00 น. ถูกยิงบริเวณในหน้าทะลุคอ
และในบริเวณนี้ก็มีอีก 1 ศพ ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 นั่นคือกรณีของ นายออง ละวิน มูฮัมหมัด อารี ซึ่งเป็นสัญชาติพม่า ซึ่งถูกยิงขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ถูกยิงหน้าอกทะลุ เวลา 17.30 น. บ่งบอกได้ว่าทุกชาติ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกภาษา
คือเป้าหมายในภารกิจห่ากระสุนจริงของทหารครั้งนี้
ยุทธการกระชับวงล้อม – ราชประสงค์ – ขั้นปฏิบัติการขั้นที่ 3
เมื่อทุกหน่วยพร้อมปฏิบัติการร่วมสังหารหมู่
3 เหล่าทัพด้วยกำลัง 3 กองพลได้เริ่มต้นขึ้นเช้าตรูวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จัดชุดอุปกรณ์เต็มกำลังอัตราศึกทั้งกำลังอาวุธประจำกายที่ทันสมัย ชุดสไนเปอร์ หน่วยยานเกราะ และถือได้ว่าเป็นการปรับยุทธวิธีจากบทเรียนวันที่ 10 เมษายน 2553
นั่นเอง
นี่คือคำสารภาพของทหารเองจากบทความในวารสารเสนาธิปัตย์ ซึ่งต่อมาภายหลังทางกองทัพได้มีการออกมาแก้ตัวว่า เป็นเพียงทัศนคติของนายทหารท่านหนึ่งซึ่งเขียนขึ้นในหนังสือ แสดงความสำเร็จในยุทธวิธีทางทหารเท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงการปฏิบัติการทั้งหมด
เมื่อปฏิบัติการขั้นตอนที่ 3 เริ่มขึ้น ผู้เสียชีวิตก็เริ่มตายไปด้วย เริ่มต้นที่บริเวณซอยรางน้ำของวันที่ 19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิต 2 รายคือ
19 พ.ค. 53 ทหารพร้อมอาวุธครบมือ เคลื่อนพลมายังถนนสีลม โดยมีทั้งรถบัส รถหุ้มเกราะ รวมทั้งรถมอเตอร์ไซด์เข้ามาในพื้นที่ ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมสวนลุมพินียังนิ่งรอดูสถานการณ์ |
เมื่อปฏิบัติการขั้นตอนที่ 3 เริ่มขึ้น ผู้เสียชีวิตก็เริ่มตายไปด้วย เริ่มต้นที่บริเวณซอยรางน้ำของวันที่ 19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิต 2 รายคือ
1) นายประจวบ เจริญทิม เสียชีวิตเวลาประมาณ 09.52 น.
2) นายปรัชญา แซ่โค้ว เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น. จากบาดแผลกระสุนทำลายตับและหัวใจ
ข้ามมายังบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ก็มีผู้เสียชีวิตอีก 1 คน คือ น.ส.วาสินี เทพปาน เสียชีวิตเวลาประมาณ 22.00 น. จากปอดและตับถูกทำลายจากบาดแผลกระสุนปืน
ความตายที่ราชประสงค์ วัดปทุมวนาราม ปฏิบัติการของทหารในการสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ทหารได้แบ่งพื้นที่รับผิดชอบของการปฏิบัติการนี้ 8 ส่วน ทหารแต่งกายแตกต่างจากเจ้าหน้าที่รัฐทั่วไป ทั้งหมวก อาวุธปืน มีการติดอุปกรณ์เสริม เช่น ศูนย์เล็งเลเซอร์ ถูกผ้าติดที่ช่องทัดปลอกกระสุนและหมวกไหมพรมปิดหน้า
หน่วยกู้ชีพกำลังเอาผ้าคลุมร่างของผู้ชุมนุมสองคนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมภาพโดย PEDRO UGARTE / AFP |
ความตายที่ราชประสงค์ วัดปทุมวนาราม ปฏิบัติการของทหารในการสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ทหารได้แบ่งพื้นที่รับผิดชอบของการปฏิบัติการนี้ 8 ส่วน ทหารแต่งกายแตกต่างจากเจ้าหน้าที่รัฐทั่วไป ทั้งหมวก อาวุธปืน มีการติดอุปกรณ์เสริม เช่น ศูนย์เล็งเลเซอร์ ถูกผ้าติดที่ช่องทัดปลอกกระสุนและหมวกไหมพรมปิดหน้า
ปฏิบัติการบริเวณสวนลุมพินีของวันที่ 19
พฤษภาคม 2553 นี้ ยังผลให้มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตทั้งหมด 5 คน คือ
1) นายถวิล คำมูล เวลาประมาณ 07.30 น. ถูกยิงที่หัว
2) ชายไม่ทราบชื่อ เสียชีวิตใกล้จุดของนายถวิล ถูกยิงที่หัว
3) นายนรินทร์ ศรีชมพู เวลาประมาณ 09.00
น. จากการถูกยิงที่หัว
4) นาย Fabio Polenghi เวลาประมาณ
10.45 น. ถูกยิงบริเวณหน้าอก
5) นายธนโชติ ชุ่มเย็น เวลาประมาณ 11.30
น. ถูกยิงทะลุไตซ้ายและเส้นเลือดใหญ่
ผ่านมาถึงช่วงบ่ายก็ได้มีการประเมินสถานการณ์ และมีมติจากแกนนำ โดยมีการประกาศยุติการชุมนุม เนื่องจากถ้าหากการชุมนุมยังมีต่อไป ความสูญเสียชีวิตของประชาชนจะต้องมีมากมายนับไม่ถ้วน จึงได้ประกาศยุติการชุมนุมอย่างเป็นทางการในเวลา 13.45 น. เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 แกนนำทั้ง 6 คนได้เดินจากเวทีราชประสงค์เข้ามอบตัวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนผู้ชุมนุมบางส่วนยังอยู่ที่บริเวณแยกราชประสงค์ บางส่วนไปทางถนนพระราม 1 เข้าไปที่วัดปทุมวนารามซึ่งได้ติดป้ายเป็น "เขตอภัยทาน" หมายความว่าจะไม่มีการฆ่าหรือการทำร้ายเกิดขึ้นภายในวัด จนถึงช่วงเวลา 16.00 น. ได้มีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัดมาจากทางรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ยิงมาที่ประตูทางเข้าวัด จังหวะนั้นก็ได้มีเสียงร้องของชาย 2 คนซึ่งถูกยิงบริเวณประตูวัด โดยมีกลุ่มชาย 3-4 คนวิ่งออกไปเอาร่างของผู้ถูกยิงเข้ามาภายในวัด แต่ก็พบว่าได้เสียชีวิตแล้ว ซึ่งผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้คือ นายอัฐชัย ชุมจันทร์ ถูกกระสุนปืนทำลายปอด และมีผู้เสียชีวิตรายต่อมาคือ นายมงคล เข็มทอง ซึ่งถูกยิงหลังจากได้ทำการช่วยพยาบาลนายอัฐชัย ชุมจันทร์ พยานเล่าว่าขณะนั้นเขายืนอยู่ใต้ราง และได้เห็นทหารประมาณ 3 คน เล็งปืนลงมา จึงได้วิ่งเข้าไปภายในวัด และเขาถูกยิงในชุดอาสาสมัครกู้ภัยสีกรมท่าเป็นรายที่ 2 ในวัดปทุมฯ ซึ่งการเบิกความการสอบสวนคดีการตายในวัดปทุมฯ ล่าสุดได้มีการรับสารภาพจากทหารหน่วยรบพิเศษ 3 นาย ว่าเป็นผู้ยิงปืนเข้าไปภายในวัดปทุมฯ จากบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส
ภาพประกอบนิทรรศการ 19 พ.ค. |
ผ่านมาถึงช่วงบ่ายก็ได้มีการประเมินสถานการณ์ และมีมติจากแกนนำ โดยมีการประกาศยุติการชุมนุม เนื่องจากถ้าหากการชุมนุมยังมีต่อไป ความสูญเสียชีวิตของประชาชนจะต้องมีมากมายนับไม่ถ้วน จึงได้ประกาศยุติการชุมนุมอย่างเป็นทางการในเวลา 13.45 น. เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 แกนนำทั้ง 6 คนได้เดินจากเวทีราชประสงค์เข้ามอบตัวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนผู้ชุมนุมบางส่วนยังอยู่ที่บริเวณแยกราชประสงค์ บางส่วนไปทางถนนพระราม 1 เข้าไปที่วัดปทุมวนารามซึ่งได้ติดป้ายเป็น "เขตอภัยทาน" หมายความว่าจะไม่มีการฆ่าหรือการทำร้ายเกิดขึ้นภายในวัด จนถึงช่วงเวลา 16.00 น. ได้มีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัดมาจากทางรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ยิงมาที่ประตูทางเข้าวัด จังหวะนั้นก็ได้มีเสียงร้องของชาย 2 คนซึ่งถูกยิงบริเวณประตูวัด โดยมีกลุ่มชาย 3-4 คนวิ่งออกไปเอาร่างของผู้ถูกยิงเข้ามาภายในวัด แต่ก็พบว่าได้เสียชีวิตแล้ว ซึ่งผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้คือ นายอัฐชัย ชุมจันทร์ ถูกกระสุนปืนทำลายปอด และมีผู้เสียชีวิตรายต่อมาคือ นายมงคล เข็มทอง ซึ่งถูกยิงหลังจากได้ทำการช่วยพยาบาลนายอัฐชัย ชุมจันทร์ พยานเล่าว่าขณะนั้นเขายืนอยู่ใต้ราง และได้เห็นทหารประมาณ 3 คน เล็งปืนลงมา จึงได้วิ่งเข้าไปภายในวัด และเขาถูกยิงในชุดอาสาสมัครกู้ภัยสีกรมท่าเป็นรายที่ 2 ในวัดปทุมฯ ซึ่งการเบิกความการสอบสวนคดีการตายในวัดปทุมฯ ล่าสุดได้มีการรับสารภาพจากทหารหน่วยรบพิเศษ 3 นาย ว่าเป็นผู้ยิงปืนเข้าไปภายในวัดปทุมฯ จากบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส
ภาพผู้เสียชีวิต 6 ศพ วัดปทุมวนาราม ซึ่งภายหลังการไต่สวนการตาย ศาลชี้ว่ากระสุนปืนมาจากเจ้าหน้าที่บนรางรถไฟฟ้า |
18.00 น. มีผู้ถูกยิงเสียชีวิตอีก 1 คน
คือ นายสุวัน ศรีรักษา ถูกกระสุนปืนทะลุปอดและหัวใจ จากการสอบสวนของตำรวจพบว่าน่าจะโดนยิงตรงบริเวณหน้าห้องน้ำภายในวัดปทุมฯ เป็นรายที่ 3 เหตุการณ์นี้มีนักข่าวต่างประเทศคือ Andrew Buncombe
จากหนังสือพิมพ์ The Independent ถูกยิงบาดเจ็บ ผู้เสียชีวิตรายที่ 4 ภายในวัดปทุมวนารามและถือเป็นการเสียชีวิตที่น่าคิด
และเป็นประเด็นที่ต้องถามถึงความยุติธรรม คือกรณีของ น.ส.กมลเกด อัคฮาด ซึ่งถูกยิงด้วยกระสุนปืน 11 แผล ถูกยิงขณะที่กำลังช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในเต็นท์พยาบาลภายในวัด และในเวลาเดียวกัน
นายอัครเดช ขันแก้ว ก็เป็นผู้เสียชีวิตรายที่ 5 ซึ่งถูกยิงขณะที่เข้าไปช่วยเหลือ
น.ส. กมลเกด ผู้เสียชีวิตรายที่ 6 ซึ่งเป็นรายสุดท้ายที่เกิดจากยุทธการขอคืนพื้นที่ภายในวัดปทุมฯ วันที่ 19 พฤษภาคม
2553 ก็คือกรณีการเสียชีวิตของ นายรพ สุขสถิตย์ ซึ่งเสียชีวิตจากการถูกยิง สันนิษฐานได้ว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เกิดขึ้นในช่วงที่ทหารได้ทำการยิงลงมาจากรางรถไฟฟ้า
ขณะเดียวกันบริเวณห้างเซ็นทรัลเวิลด์ก็มีผู้เสียชีวิตในช่วงนั้น
คือเวลาหลังจากที่ไฟได้ไหม้ห้างเซ็นทรัลเวิลด์แล้วตั้งแต่เวลา 16.30 น. คือ
นายกิตติพงษ์ สมสุข ซึ่งพยานและการสอบสวนได้ให้การว่านายกิตติพงษ์ได้โทรศัพท์บอกกับอดีตแฟนของเขาว่าตนติดอยู่ในห้างเซ็นทรัลเวิลด์
เพราะวิ่งหนี้ทหารที่ไล่ยิงเข้าไป
และนี่คือบทสรุปของปฏิบัติการขั้นตอนที่
3 ของยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์
ในขั้นการสลายม็อบที่ทหารได้เขียนบทความเป็นคำสารภาพจากปากทหารเอง แสดงความสำเร็จของตัวเองลงอย่างภาคภูมิ ด้วยวิธีการใช้วิธีการของการทหารในการแก้ปัญหา แทนที่จะเลือกใช้วิธีทางการเมืองด้วยการเจรจา แล้วยอมคืนอำนาจให้กับประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใดเป็นรัฐบาล
ยุทธการกระชับวงล้อม – ราชประสงค์ – ขั้นปฏิบัติการขั้นที่ 4
ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 1 วัน คือวันที่ 20
พฤษภาคม 2553 หรือหลังจากการสลายม็อบ 1 วัน ซึ่งขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่ระบุว่า พบหลักฐานที่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ทั้งอาวุธต่าง ๆ โดยที่ทหารระบุว่าเป็นของคนเสื้อแดง และรวมถึงสิ่งผิดกฎหมายอื่น ๆ ที่ทหารก็ระบุว่าเป็นของคนเสื้อแดงทั้งหมด
แต่นั้นคงจะไม่ใช่สาระสำคัญ
เพราะสาระสำคัญนั้นอยู่ที่ผลพวงของการใช้ยุทธศาสตร์ทางทหารมาเป็นหลักของการแก้ปัญหาการเมืองของรัฐบาลอภิสิทธิ์ จนมีการสูญเสียชีวิตและมีการบาดเจ็บมากมายของประชาชน เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนจิตใจและเป็นคำถามที่ยังไร้คำตอบ
ไร้ความรับผิดชอบจากผู้กระทำการที่ออกสู่สายตาชาวโลกและประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายได้เห็นแล้วในปฏิบัติการยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ สิ่งเหล่านี้ใช่หรือไม่ที่ชาวโลกควรจะได้รับรู้ความจริงและเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้สั่งการที่อยู่เบื้องหลังการตายทั้งหมดของเหตุการณ์ครั้งนี้
ส่งท้ายของปฏิบัติการยุทธการกระชับวงล้อม
พื้นที่ราชประสงค์ วันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553 ที่คนทั่วโลกควรจดจำ
- หน่วยรับผิดชอบในการวางกำลังยุทธการปฏิบัติการ
3 เหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก, กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
- กำลังของกองทัพบกจำนวน 3 กองพบ ได้แก่
กองพลที่
1 รักษาพระองค์ (พล.ร1.รอ.) ใช้กำลัง 3 กรมหลักคือ ร.1
รอ., ร.11 และ ร.31 รอ. ให้
ร.1 รอ. กับ ร.11 รอ. วางกำลังส่ง
พื้นที่ดินแดง พญาไท ราชปรารภ ร.31
รอ. เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว
พร้อมปฏิบัติการพิเศษ
กองพลทหารม้าที่
2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่
ถนนวิทยุ,
บ่อนไก่, ศาลาแดง, ลุมพินี, สามย่าน
กองพลทหารราบที่
9 (พล.ร.9) ดูแลพื้นที่อโศก,
เพลินจิต, ชิดลม
นอกจากนี้ยังมีกองกำลังพร้อมสนับสนุนคือ พล.ร.2 รอ.
กำลังของหน่วยอากาศโยธิน (อย.) ของกองทัพอากาศแสตนบายพร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ 24
ชั่วโมง และมีหน่วยปฏิบัติการทางอากาศพร้อมขึ้นบินพื้นที่ราชประสงค์
ขณะที่กองทัพเรือรับภารกิจพิเศษอารักขาสถานที่สำคัญ
หน่วยพิเศษของทหารเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกฝนและทหารเห็นว่าประสบความสำเร็จมากในเหตุการณ์
10 เมษา 53 คือ หน่วยสไนเปอร์ประจำการตามตึกสูง พลซุ่มยิงพร้อมคนชี้เป้ายิง
- กองทัพใช้งบประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท
สำหรับกำลังพล
67,000 นาย ในภารกิจนี้
- มีการเบิกจ่ายกระสุน 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด เท่ากับใช้
ไป 117,923 นัด
- กระสุนสำหรับการซุ่มยิง 3,000 นัด
ส่งคืน 880 นัด เท่ากับใช้ไป
2,120 นัด
- ตำรวจใช้งบไปกว่า 700 ล้านบาท
สำหรับกำลังพลราว 25,000 นาย
ตัวเลขผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากการสลายการชุมนุม เมษา – พฤษภา 53
หัวข่าวจากไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 26 ธันวาคม 2556 |
ตัวเลขผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากการสลายการชุมนุม เมษา – พฤษภา 53
- ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 99 ราย
- แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 10 ราย
- พลเรือนเสียชีวิต 89 ราย
- ผู้หญิง 7 ราย
- ผู้ชาย 92 ราย
- เสียชีวิตจากกระสุนปืน 82 ราย
- ผู้เสียชีวิตอายุน้อยที่สุด 12 ปี
- ผู้บาดเจ็บทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1,283 ราย