ยูดีดีนิวส์ : 3 ส.ค. 62 หลังจากที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไปเมื่อวันที่ 25-26 ก.ค. ที่ผ่านมา
ซึ่งก่อนหน้านั้นนายปิยบุตร แสงกนกกุล ได้ลุกขึ้นถามในประเด็นที่
พล.อ.ประยุทธ์ได้เข้าเฝ้าและกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญนั้น ปรากฎว่าตลอดการแถลงนโยบายครั้งนี้
พล.อ.ประยุทธ์ก็ไม่มีการตอบคำถามดังกล่าว
จากนั้นในสังคมไทยก็วิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นนี้กันอย่างกว้างขวาง อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ ก็เป็นอีกท่านหนึ่งซึ่งได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าว
ในโดยโพสต์ในเพจ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ไว้ได้น่าสนใจ ดังนี้
คำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ธิดา ถาวรเศรษฐ
3 ส.ค. 62
เป็นทั้งประเพณีการปกครองของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ แม้แต่รัฐธรรมนูญชั่วคราวของ คสช. เพียงแต่ว่าการถวายสัตย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะครอบคลุมถึงพระมหากษัตริย์ ประเทศชาติ ประชาชนไทย และรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 161
รัฐธรรมนูญ 2560 หมวด 8 มาตรา 161 ระบุชัดว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
หมายความว่าต้องอ่านทุกตัวอักษร
การเว้น “ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” ไม่มีทางที่จะหลงลืม แต่เป็นการละเว้นโดยเจตนาที่จะไม่ปฏิญาณ
พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่จำเป็นต้องรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกประการก็ได้
ดังนั้นเราต้องคิดตามต่อไปว่า
1) เรากำลังอยู่ในระบอบการปกครองแบบไหน?
“ประชาธิปไตยแบบ (เผด็จการ) ไทย” จริงหรือเปล่า?
2) เป็นระบอบประชาธิปไตยที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่บังคับใช้กับทุกคน
3) มีโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารจริง ฉีกรัฐธรรมนูญจริงอีก หรือรัฐประหารโดยละเว้นการใช้รัฐธรรมนูญบางข้อ บางหมวด หรือไม่?
แต่อย่างไรดิฉันเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จงใจที่จะไม่ปฏิญาณ
รักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 60 นี้แน่ ๆ
คำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ธิดา ถาวรเศรษฐ
3 ส.ค. 62
เป็นทั้งประเพณีการปกครองของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ แม้แต่รัฐธรรมนูญชั่วคราวของ คสช. เพียงแต่ว่าการถวายสัตย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะครอบคลุมถึงพระมหากษัตริย์ ประเทศชาติ ประชาชนไทย และรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 161
รัฐธรรมนูญ 2560 หมวด 8 มาตรา 161 ระบุชัดว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
หมายความว่าต้องอ่านทุกตัวอักษร
การเว้น “ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” ไม่มีทางที่จะหลงลืม แต่เป็นการละเว้นโดยเจตนาที่จะไม่ปฏิญาณ
พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่จำเป็นต้องรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกประการก็ได้
ดังนั้นเราต้องคิดตามต่อไปว่า
1) เรากำลังอยู่ในระบอบการปกครองแบบไหน?
“ประชาธิปไตยแบบ (เผด็จการ) ไทย” จริงหรือเปล่า?
2) เป็นระบอบประชาธิปไตยที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่บังคับใช้กับทุกคน
3) มีโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารจริง ฉีกรัฐธรรมนูญจริงอีก หรือรัฐประหารโดยละเว้นการใช้รัฐธรรมนูญบางข้อ บางหมวด หรือไม่?
แต่อย่างไรดิฉันเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จงใจที่จะไม่ปฏิญาณ
รักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 60 นี้แน่ ๆ