อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ ได้กล่าวในการทำ Facebook Live วันนี้ (9 ม.ค. 62) ในเรื่องที่ดูแล้วสำคัญและน่าเป็นห่วงมากคือเรื่อง
“ทัศนะคสช. VS ทัศนะประชาชน เรื่องวันเลือกตั้ง”
ซึ่งถือเป็นปรากฎการณ์ความขัดแย้งของประชาชนทุกฝ่ายกับคสช.เกี่ยวกับวันเลือกตั้ง
เมื่อคสช.มีคำสั่งที่
22/2561 ปลดล็อคให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยมีผลตั้งแต่
11 ธ.ค. 61 ซึ่งประกาศคำสั่งนี้ก็มีผลยกเลิกคำสั่งคสช.เรื่องของประชาชน,
พรรคการเมือง
รวมถึงเรื่องการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ลงวันที่
22 ธ.ค. 60
อ.ธิดากล่าวว่า
ทั้งหมดนี้ก็ทำให้มีปัญหาการตีความ ก็คือในทัศนะของคสช.เรื่องวันเลือกตั้ง การที่ส่งนายวิษณุออกมาพูดชี้นำว่าให้เลื่อนการเลือกตั้งไปเป็นวันที่
24 มี.ค. เป็นเหมือนทัศนะของคสช.ที่แสดงออกโดยคำพูดของนายวิษณุ
และมีเค้าว่ากกต.ตีว่าควรจะเป็นวันที่ 10 มี.ค.
มีความแตกต่างตรงที่ว่าการตีความตามรธน.ว่า
การจัดการเลือกตั้งให้เสร็จเรียบร้อยนั้นตีความไปแค่ไหน?
กกต.ตีความว่าจัดการเลือกตั้งและประกาศผลการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อย
แต่ทัศนะของพล.อ.ประวิตรกลายเป็นว่ามีเวลาถมเถ
เลือกตั้งสามารถทำได้ 150 วัน นับจาก 11 ธ.ค. 61 วันสุดท้ายของวันเลือกตั้งคือ 10
พ.ค. หมายความว่าตีความว่าเลือกตั้งให้แล้วเสร็จเท่านั้น (แค่วันเลือกตั้ง)
ไม่ได้หมายความถึงประกาศผลการเลือกตั้งด้วย แล้วไปชูมือผู้ชนะเอาเดือนก.ค.
ดังนั้นในภาคประชาชนเรื่องการเลือกตั้ง ประชาชนออกมาเรียกร้องไม่ให้เลื่อนการเลือกตั้ง
หรือถ้าเลื่อนก็ไม่ควรเกิน 10 มี.ค. และทัศนะของอ.ธิดาเห็นว่าตรงนี้กระแสประชาชนจะแรงขึ้นเรื่อย
ๆ เพราะรอมาจะ 5 ปีแล้ว
ปัญหาคือถ้าสมมุติว่าไปเลือกตั้งหลัง 10
มี.ค. แล้ว 150 วันยังไม่สามารถชูมือผู้ชนะเลือกตั้งได้
ถึงตอนนั้นก็จะต้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความ
ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าให้แล้วเสร็จแปลว่าต้องประกาศผลด้วย นั่นหมายถึงจบ เจ๊ง
แล้วบิ๊กป้อมจะมารับผิดชอบได้ไหมตรงนี้?
สรุปว่าคสช.ให้เลื่อน...ประชาชนไม่ให้เลื่อน
เรื่องนี้จะบานปลายมั้ย? อ.ธิดากล่าวว่า ดิฉันเชื่อว่าประชาชนทั้งหลายอยากให้งานพระราชพิธีดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
ดังนั้นคำแถลงไม่ว่าจะเป็นของสิรวิชญ์หรือพวกที่ไม่อยากเลื่อนการเลือกตั้งก็ยืนยันในข้อหนึ่งว่า
ให้รัฐบาลนี้จัดการงานพระราชพิธีให้ดีที่สุด และให้แจ้งมาว่าสถานะของพระราชกฤษฎีกาอยู่ที่ตรงไหน?
ให้สังคมทราบอย่างชัดเจน!!!
ปัญหาสังคมไทยก็คือเป็นสังคมที่คลุมเครือ
ไม่ชอบทำความจริงให้ปรากฎ
อ.ธิดาจึงเห็นด้วยกับสิ่งที่สิรวิชญ์นำเสนอคือพูดให้ชัดเรื่องพระราชกฤษฎีกา
ดังนั้นการอมพะนำและเลื่อนไปเรื่อย ๆ
ทำให้ไม่มีเครดิตในหมู่ประชาชนเพราะประชาชนเห็นต่างว่าพระราชพิธีก็สามารถทำได้เต็มที่
และทัศนะของอ.ธิดาก็เห็นว่าจริง ๆ ควรจะถวายพระเกียรติยศโดยรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนมีส่วนร่วม
เรื่องนี้
win win ทั้งคู่ คือ ทำให้ประชาชนมีความสุข ได้มีการเลือกตั้งตามกำหนดการ
และถวายพระเกียรติยศให้ได้เต็มที่โดยไม่จำเป็นต้องเลื่อนการเลือกตั้ง
อ.ธิดากล่าวต่อไปว่า
ปัญหาการใช้เทคนิคทางกฎหมายมาทำให้ล้มการเลือกตั้งหรือใช้ม็อบมาล้มการเลือกตั้ง
เป็นสิ่งซึ่งฝ่ายอนุรักษ์นิยมถนัดมาก
เพราะสัญลักษณ์การเลือกตั้งคือสัญลักษณ์ของการเดินไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
สัญลักษณ์ของการเลื่อนและล้มการเลือกตั้งก็คือสัญลักษณ์ของระบอบอำมาตยาธิปไตยและขุนศึก
ที่ไม่ต้องการให้มีระบอบประชาธิปไตยเพราะนั่นคือการลดและทำลายอำนาจของชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม
อ.ธิดามองว่านานเกินไปแล้ว
ประชาชนก็ยินยอมอยู่ในความสงบ พรรคการเมืองก็ยอม แม้กระทั่งนปช.เพราะเราก็รู้ว่าประเทศชาตินั้นลำบากตรงที่ประชาชนมีความเข้าใจไม่ตรงกัน
มีความขัดแย้งกันด้วย ไม่ใช่ความขัดแย้งเฉพาะในกลุ่มชนชั้นนำ เราจึงให้เวลา
แต่ขณะนี้ประชาชนดูเหมือนว่าเขาจะทนไม่ได้และไม่อยากให้เวลา
ขอเตือนมายังคสช.ให้คิดดี
ๆ คุณผิดคำพูดมาหลายรอบแล้ว อ.ธิดากล่าว