วันก่อนเราพูดถึงเรื่องปรากฎการณ์ของเนติวิทย์ ทำไมเนติวิทย์ถึงได้รับเลือกมาเป็นประธานสภานิสิตจุฬาฯ
เราพบว่านิสิตจุฬานั้นต้องการการเปลี่ยนแปลงและต้องการผู้นำที่มานำพาเพื่อที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ เพราะว่าที่แล้วมาไม่ว่าจะมีมติใด ๆ
ก็ตามถ้าถูกขัดโดยผู้ใหญ่ทางสายแนวคิดอนุรักษ์นิยมปิดปาก เรื่องนั้นก็จบ ซึ่งพวกเขาก็คิดกันว่าไม่ถูก
หมายความว่าในส่วนของนิสิตจุฬานั้น แนวคิดเสรีนิยมปรากฎและเป็นหลักเป็นฐาน
เมื่อหันมาดูอาจารย์มหาวิทยาลัย ยกตัวอย่างเช่นกรณีของ
ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีธรรมศาสตร์ หรือแม้กระทั่งกรณีที่มีการต้มตุ๋น 500
กว่าล้านโดยอาจารย์หนึ่งคนต้มตุ๋มอาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาฯ 78 คน
ถามว่ากรณีสองกรณีนี้มันแสดงให้เห็นว่าอะไร
ก็แสดงให้เห็นว่าคณาจารย์ยังง่วนอยู่กับเรื่องราวของผลประโยชน์ส่วนตน แน่นอนผู้ต้มตุ๋มเป็นเรื่องที่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่ผู้ที่ถูกต้มตุ๋มก็แปลว่าสาระ-วิธีคิดยังอยู่ที่ผลประโยชน์ส่วนตัวจนกระทั่งลืมคิดถึงความเป็นได้
ความสมเหตุสมผล
จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง
อันนี้เป็นปรากฎการณ์
เพราะฉะนั้นความล้มเหลวเมื่อมีการเทียบกับระหว่างประเทศมันสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย ทั้งภารกิจของมหาวิทยาลัย คุณผลิตบัณฑิต คุณมีความรู้แค่ไหน มีความรับผิดชอบในฐานะเป็นครูบาอาจารย์แค่ไหน
และคุณมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยหรือเปล่า สอนกันหรือเปล่าว่าต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ไม่ใช่สักแต่ว่ากินเงินเดือน มาทำงาน มีวันหยุด
แล้วก็มีรายได้ ก็สอนไป ไม่ได้คำนึงเลยว่ามีความรู้เพียงพอ
สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ และมีความคิดที่ถูกต้อง
ยอมรับการเมืองที่ถือว่าประชาชนเป็นนาย!!!
หรือประชาชนเป็นบ่าว!!!
เพราะฉะนั้นการต่อสู้ระหว่างแนวคิด 2
แนวคิด ส่วนตัว-ส่วนรวม, แนวคิดอนุรักษ์นิยม-เสรีนิยม, แนวคิดที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงหรือคงไว้ระบอบประเพณีมันเป็นสิ่งที่ยังคงอยู่ในมหาวิทยาลัย
และบอกได้เลยว่ามหาวิทยาลัยกับอาจารย์ของเรานั้นล้มเหลว ส่วนตัวมาก่อนส่วนรวม
อันนี้ก็ยังไม่ว่านะถ้ามีความรู้ความสามารถ
แต่ความรู้ความสามารถเมื่อเทียบกับที่อื่นมันแย่กว่าเยอะ เพราะคุณเอาแต่วิจัยว่าคุณจะได้ ผศ. รศ. ศจ.
ลอกกันไปลอกกันมา ความรับผิดชอบอยู่ที่ไหน?
ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าในเมื่อแม่พิมพ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ เป็นอย่างนี้แล้วมันจะส่งผลให้มหาวิทยาลัยเป็นแบบไหน
เพราะฉะนั้นชะตากรรมของประเทศไทยนอกจากเป็นปัญหาการศึกษาพื้นฐานที่มีปัญหามากอยู่แล้ว การศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่งจะไปต่อยอดการแข่งขันในเวทีโลกก็มีปัญหาแน่นอน
ความจริงแล้วปัญหาการศึกษาประเทศไทยนั้นมีมากกว่านี้มาก
เพราะว่าความคิดจารีตนิยมและความคิดที่เอาคณะของตัวเอง และความคิดที่เห็นประชาชนเป็นบ่าวแล้วตัวเองเป็นนายมันครอบงำสังคมไทยมานานจนกระทั่งมันไม่สามารถที่จะมียืนที่เชิดหน้าชูตาในเวทีโลกได้
นี่เป็นความรู้สึกในใจของอาจารย์ธิดา!